link slot Pragmatic Play resmi dan terpercaya 2024

Spaceman Slot

permainan spaceman slot Resmi di Indonesia

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

Handbook ตอนที่ 30 วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว (ตอนแรก)

01/02/2022

แชร์บทความนี้

The Skincare Handbook ของ AMT ก็ได้เดินทางมาถึงตอนที่ 30 แล้วนะครับ ผมต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านมากๆ
เลยนะครับที่ชื่นชอบ และให้การสนับสนุน AMT Skincare มาโดยตลอด Handbook ตอนที่ 30 นี้ ผมอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว ว่าเป็นอย่างไร และมีวิธีการอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว เชิญอ่านต่อกันได้เลยครับ

เคยไหมครับ ? เวลาทาสกินแคร์ไปแล้ว รู้สึกว่าสกินแคร์นี้ซึมดีจังเลย คิดว่าใช้แล้วต้องได้ผลแน่ ๆ เพราะสารสำคัญเข้าไปที่ผิว
หมดแล้ว
จริง ๆ แล้วความรู้สึกที่ว่า “ซึมดี” นั้น ไม่ได้แปลว่า สารสำคัญซึมดีเสมอไปครับ การทาแล้วรู้สึกว่ามันซึม เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการระเหยของน้ำในสูตรก็ได้ครับ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารสำคัญซึมเข้าไปออกฤทธิ์ได้แล้ว? คำตอบคือเราไม่มีทางรู้ได้เลยด้วยความรู้สึก ว่า โอ้ว !!! ตอนนี้โมเลกุล Niacinamide กำลังซึมเข้าไปในผิวแล้วนะ ผิวเรารับความรู้สึกแบบนั้นไม่ได้ครับ หลายๆ ท่านอาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่า  อ้าว แล้วถ้าอย่างนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าสารสำคัญซึมเข้าไปออกฤทธิ์แล้ว?  คำตอบก็คือ เราจะต้องรอดูผลลัพธ์ครับ เช่น Niacinamide มีผลลัพธ์ช่วยลดจุดด่างดำ ลดการอักเสบ ช่วยสร้าง Ceramide ช่วยเสริมสร้าง Skin barrier ถ้าเราใช้แล้วผลลัพธ์ดีขึ้น ก็แสดงว่าสารสำคัญน่าจะซึมลงไปออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ

ตรงนี้ผมขอพูดเรื่องการออกแบบสูตรสกินแคร์ให้ฟังครับ ว่าในฐานะของคนคิดค้นสูตร เวลาจะคิดสูตรเราจะต้องแยกสองเรื่องออกจากกัน นั่นก็คือ

  1. ส่วนแรก  คือ การออกแบบให้สารสำคัญซึมเข้าไปสู่จุดที่จะออกฤทธิ์ เป็นส่วนที่สำคัญมาก ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ผสม ๆ กันครับ  
  2. ส่วนที่สอง คือ การออกแบบให้รู้สึกดีในการใช้ เช่น รู้สึกซึมดี ไม่เหนอะหนะจนเกินไป ส่วนนี้นอกจากจะอาศัยวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องอาศัยศิลปะควบคู่ไปด้วยครับ
    ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุป ก็คือ การจะทำสกินแคร์ให้สารสำคัญซึมดีและให้ความรู้สึกในการใช้ที่ดีด้วยต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะผสมกันครับ ผมชอบเปรียบเทียบการออกแบบสูตรสกินแคร์ เหมือนกับการทำอาหารครับ ถ้าเราสนใจแค่คุณค่าทางโภชนาการอย่างเดียว เราก็จะได้อาหารที่มีประโยชน์ กินแล้วร่างกายเติบโต แต่ไม่อร่อย นั่นเองครับ ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่อยากกิน ถ้าเป็นสกินแคร์ก็จะอาจไม่อยากทา แล้วถ้าเป็นสกินแคร์ที่สารสำคัญซึมดี แต่ไม่มีคนอยากทา ก็ไม่มีประโยชน์จริงมั้ยครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าซึมดีแล้วจะดีเสมอไปนะครับ ขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนที่ 1 เราต้องรู้ก่อนว่าสารนั้นจะไปออกฤทธิ์ที่ไหน ตัวอย่างเช่น Niacinamide มีคุณสมบัติในการเป็น Whitening ก็จะมีตำแหน่งที่สารออกฤทธิ์อยู่ที่เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) ซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างสุดของผิวหนังชั้นบน สารสำคัญนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องซึมเข้าไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างตรงจุด แต่สารสำคัญบางตัว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซึมเข้าไปในผิวหนังก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น สารกันแดด ก็ควรที่จะอยู่แค่เพียงบนผิวหนังชั้นนอกสุดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดเท่านั้น หรือสารกลุ่ม Occlusive ก็ควรจะเคลือบอยู่แค่บนผิว (หรืออย่างมากก็อาจจะแทรกซึมเข้ามาในผิวได้บ้าง เพื่อยึดเกาะให้แน่นขึ้น) เพื่อทำหน้าที่ปิดฝาผิว และกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ไม่ให้เสียไปครับ

ขั้นตอนที่ 2 คือ ต้องดูว่าสารสำคัญนั้นมีนิสัยเป็นอย่างไร ต้องบอกก่อนว่าหน้าที่ของผิวที่สำคัญก็คือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ไม่ให้มาทำลายผิว ซึ่งในขณะเดียวกัน ผิวก็จะป้องกันไม่ให้สารสำคัญบางชนิดผ่านเข้ามาเช่นกันครับ 

โดยสารสำคัญที่ชอบน้ำมันเช่น วิตามิน E, วิตามิน A, Astaxanthin, น้ำมันจากเมล็ดแมคคาดาเมีย มีแนวโน้มที่จะซึมเข้าสู่ผิวดีอยู่แล้ว เพราะผิวของเราก็เป็นไขมันเหมือนกัน สารจึงผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างดี

ส่วนสารสำคัญที่ชอบน้ำ (ไม่ชอบน้ำมัน) เช่น Niacinamide, วิตามิน C, กรดอะมิโน จะไม่ค่อยซึมเข้าสู่ผิว เพราะนิสัยของสารเหล่านี้เข้ากับน้ำมันในผิวไม่ค่อยได้ ดังนั้นถ้าเราไม่ช่วยนำส่งเข้าไป ก็อาจจะไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ครับ

ขั้นตอนที่ 3 คือ ถ้าสารสำคัญซึมไปไม่ถึงจุดออกฤทธิ์ เราต้องหาทางช่วยให้มันเข้าไปได้ครับ โดยการจะช่วยให้ซึมดีขึ้นนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าสารจะซึมหรือไม่ซึม มี 4 ข้อที่เกี่ยวข้องครับ นั่นก็คือ

  1. ความเข้มข้น หรือ % ของสาร   –    ยิ่งสารเข้มข้นมาก ก็จะยิ่งซึมดี
  2. นิสัยของสารสำคัญนั้น ๆ   –    สารที่ชอบน้ำมัน จะซึมดี / สารที่มีขนาดเล็ก ๆ ก็จะซึมดีเช่นกัน
  3. โครงสร้างผิว  –   ถ้าไขมันผิวเรียงตัวแบบหลวม ๆ สารก็จะซึมเข้าไปดี
  4. ความหนาของผิว  –  ผิวยิ่งบาง สารต่าง ๆ จะยิ่งซึมดี

 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากจะเพิ่มการซึมของสารสำคัญ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การเพิ่มความเข้มข้นครับ

ทำได้ง่าย ทำได้ทันที ตรงไปตรงมา  ส่วนข้อ 2,3 ปรับนิสัยของสาร  และ เปลี่ยนโครงสร้างผิว ทำได้ยากกว่า  ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและเทคโนโลยีขั้นสูง  ส่วนข้อ 4 เปลี่ยนความหนาของผิวนั้นในทางปฏิบัติเราจะไม่เสี่ยงทำให้ผิวบางลงเพื่อเพิ่มการซึมครับ เพราะมันเสี่ยงเกินไป

ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียครับ !!  การเพิ่มความเข้มข้น หรือ %สาร ทำให้สารสำคัญซึมดีขึ้นได้ก็จริง แต่ก็เพิ่มโอกาสทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นไปด้วย เช่น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มมากขึ้น เป็นต้นครับ

AMT เราเชื่อว่า สกินแคร์ที่ดีต้องมีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย  เราจึงออกแบบให้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ของเราทุกตัวซึมไปออกทธิ์ได้ดีโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรวม ๆ กัน ไม่ใช่แค่การเพิ่มความเข้มข้นเพียงอย่างเดียว และการใช้วิธีการที่หลากหลายรวมกันทำอย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ ตอนหน้า Ep. 31 วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว (ตอนจบ) ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

Tag : Beauty tips

#AMTSkincare #AMTfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์

ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่

https://linktr.ee/AMTSkincare

The Skincare Handbook ของ AMT ก็ได้เดินทางมาถึงตอนที่ 30 แล้วนะครับ ผมต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านมากๆ
เลยนะครับที่ชื่นชอบ และให้การสนับสนุน AMT Skincare มาโดยตลอด Handbook ตอนที่ 30 นี้ ผมอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว ว่าเป็นอย่างไร และมีวิธีการอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว เชิญอ่านต่อกันได้เลยครับ
เคยไหมครับ ? เวลาทาสกินแคร์ไปแล้ว รู้สึกว่าสกินแคร์นี้ซึมดีจังเลย คิดว่าใช้แล้วต้องได้ผลแน่ๆ เพราะสารสำคัญเข้าไปที่ผิว
หมดแล้ว
จริงๆ แล้วความรู้สึกที่ว่า “ซึมดี” นั้น ไม่ได้แปลว่า สารสำคัญซึมดีเสมอไปครับ การทาแล้วรู้สึกว่ามันซึม เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการระเหยของน้ำในสูตรก็ได้ครับ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสารสำคัญซึมเข้าไปออกฤทธิ์ได้แล้ว? คำตอบคือเราไม่มีทางรู้ได้เลยด้วยความรู้สึก ว่า โอ้ว !!! ตอนนี้โมเลกุล Niacinamide กำลังซึมเข้าไปในผิวแล้วนะ ผิวเรารับความรู้สึกแบบนั้นไม่ได้ครับ หลายๆ ท่านอาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่า  อ้าว แล้วถ้าอย่างนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าสารสำคัญซึมเข้าไปออกฤทธิ์แล้ว?  คำตอบก็คือ เราจะต้องรอดูผลลัพธ์ครับ เช่น Niacinamide มีผลลัพธ์ช่วยลดจุดด่างดำ ลดการอักเสบ ช่วยสร้าง Ceramide ช่วยเสริมสร้าง Skin barrier ถ้าเราใช้แล้วผลลัพธ์ดีขึ้น ก็แสดงว่าสารสำคัญน่าจะซึมลงไปออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ

ตรงนี้ผมขอพูดเรื่องการออกแบบสูตรสกินแคร์ให้ฟังครับ ว่าในฐานะของคนคิดค้นสูตร เวลาจะคิดสูตรเราจะต้องแยกสองเรื่องออกจากกัน นั่นก็คือ

  1. ส่วนแรก  คือ การออกแบบให้สารสำคัญซึมเข้าไปสู่จุดที่จะออกฤทธิ์ เป็นส่วนที่สำคัญมาก ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ผสมๆกันครับ  
  2. ส่วนที่สอง คือ การออกแบบให้รู้สึกดีในการใช้ เช่น รู้สึกซึมดี ไม่เหนอะหนะจนเกินไป ส่วนนี้นอกจากจะอาศัยวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องอาศัยศิลปะควบคู่ไปด้วยครับ
    ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุป ก็คือ การจะทำสกินแคร์ให้สารสำคัญซึมดีและให้ความรู้สึกในการใช้ที่ดีด้วยต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะผสมกันครับ ผมชอบเปรียบเทียบการออกแบบสูตรสกินแคร์ เหมือนกับการทำอาหารครับ ถ้าเราสนใจแค่คุณค่าทางโภชนาการอย่างเดียว เราก็จะได้อาหารที่มีประโยชน์ กินแล้วร่างกายเติบโต แต่ไม่อร่อย นั่นเองครับ ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่อยากกิน ถ้าเป็นสกินแคร์ก็จะอาจไม่อยากทา แล้วถ้าเป็นสกินแคร์ที่สารสำคัญซึมดี แต่ไม่มีคนอยากทา ก็ไม่มีประโยชน์จริงมั้ยครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าซึมดีแล้วจะดีเสมอไปนะครับ ขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนที่ 1 เราต้องรู้ก่อนว่าสารนั้นจะไปออกฤทธิ์ที่ไหน ตัวอย่างเช่น Niacinamide มีคุณสมบัติในการเป็น Whitening ก็จะมีตำแหน่งที่สารออกฤทธิ์อยู่ที่เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) ซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างสุดของผิวหนังชั้นบน สารสำคัญนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องซึมเข้าไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างตรงจุด แต่สารสำคัญบางตัว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซึมเข้าไปในผิวหนังก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น สารกันแดด ก็ควรที่จะอยู่แค่เพียงบนผิวหนังชั้นนอกสุดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดเท่านั้น หรือสารกลุ่ม Occlusive ก็ควรจะเคลือบอยู่แค่บนผิว (หรืออย่างมากก็อาจจะแทรกซึมเข้ามาในผิวได้บ้าง เพื่อยึดเกาะให้แน่นขึ้น) เพื่อทำหน้าที่ปิดฝาผิว และกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ไม่ให้เสียไปครับ

ขั้นตอนที่ 2 คือ ต้องดูว่าสารสำคัญนั้นมีนิสัยเป็นอย่างไร ต้องบอกก่อนว่าหน้าที่ของผิวที่สำคัญก็คือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ไม่ให้มาทำลายผิว ซึ่งในขณะเดียวกัน ผิวก็จะป้องกันไม่ให้สารสำคัญบางชนิดผ่านเข้ามาเช่นกันครับ 

โดยสารสำคัญที่ชอบน้ำมันเช่น วิตามิน E, วิตามิน A, Astaxanthin, น้ำมันจากเมล็ดแมคคาดาเมีย มีแนวโน้มที่จะซึมเข้าสู่ผิวดีอยู่แล้ว เพราะผิวของเราก็เป็นไขมันเหมือนกัน สารจึงผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างดี

ส่วนสารสำคัญที่ชอบน้ำ (ไม่ชอบน้ำมัน) เช่น Niacinamide, วิตามิน C, กรดอะมิโน จะไม่ค่อยซึมเข้าสู่ผิว เพราะนิสัยของสารเหล่านี้เข้ากับน้ำมันในผิวไม่ค่อยได้ ดังนั้นถ้าเราไม่ช่วยนำส่งเข้าไป ก็อาจจะไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ครับ

ขั้นตอนที่ 3 คือ ถ้าสารสำคัญซึมไปไม่ถึงจุดออกฤทธิ์ เราต้องหาทางช่วยให้มันเข้าไปได้ครับ โดยการจะช่วยให้ซึมดีขึ้นนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าสารจะซึมหรือไม่ซึม มี 4 ข้อที่เกี่ยวข้องครับ นั่นก็คือ

  1. ความเข้มข้น หรือ % ของสาร   –    ยิ่งสารเข้มข้นมาก ก็จะยิ่งซึมดี
  2. นิสัยของสารสำคัญนั้น ๆ   –    สารที่ชอบน้ำมัน จะซึมดี / สารที่มีขนาดเล็ก ๆ ก็จะซึมดีเช่นกัน
  3. โครงสร้างผิว  –   ถ้าไขมันผิวเรียงตัวแบบหลวม ๆ สารก็จะซึมเข้าไปดี
  4. ความหนาของผิว  –  ผิวยิ่งบาง สารต่าง ๆ จะยิ่งซึมดี

 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากจะเพิ่มการซึมของสารสำคัญ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การเพิ่มความเข้มข้นครับ

ทำได้ง่าย ทำได้ทันที ตรงไปตรงมา  ส่วนข้อ 2,3 ปรับนิสัยของสาร  และ เปลี่ยนโครงสร้างผิว ทำได้ยากกว่า  ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและเทคโนโลยีขั้นสูง  ส่วนข้อ 4 เปลี่ยนความหนาของผิวนั้นในทางปฏิบัติเราจะไม่เสี่ยงทำให้ผิวบางลงเพื่อเพิ่มการซึมครับ เพราะมันเสี่ยงเกินไป

ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียครับ !!  การเพิ่มความเข้มข้น หรือ %สาร ทำให้สารสำคัญซึมดีขึ้นได้ก็จริง แต่ก็เพิ่มโอกาสทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นไปด้วย เช่น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเพิ่มมากขึ้น เป็นต้นครับ

AMT เราเชื่อว่า สกินแคร์ที่ดีต้องมีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย  เราจึงออกแบบให้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ของเราทุกตัวซึมไปออกทธิ์ได้ดีโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรวม ๆ กัน ไม่ใช่แค่การเพิ่มความเข้มข้นเพียงอย่างเดียว และการใช้วิธีการที่หลากหลายรวมกันทำอย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ ตอนหน้า Ep. 31 วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว (ตอนจบ) ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

Tag : Beauty tips

#AMTSkincare #AMTfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์

ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่

https://linktr.ee/AMTSkincare

บทความอื่นๆ

ion casino

ion casino

sbotop

slot bet 100

joker123 gaming

slot deposit pulsa tanpa potongan

slot deposit pulsa tanpa potongan

bonus new member

slot filipina

slot myanmar

slot vietnam

slot garansi kekalahan 100

judi bola

slot myanmar

depo 25 bonus 25 to kecil

slot vietnam

depo 25 bonus 25

demo slot sugar rush

akun pro myanmar

slot bet kecil

bonus new member

bonus new member

joker123

demo lucky neko

slot joker123

slot garansi kekalahan

https://robertoduarte.com.br/wp-includes/Slot777/

https://billig-is.dk/wp-content/slot777/

https://www.firshop.com/wp-includes/slot777/

https://simone.co.uk/wp-content/slot777/

joker123

Situs Slot777

situs slot server kamboja

Slot Gacor 777

sbobet

situs slot server thailand

Slot Gacor 777

https://pabloscobar.com/wp-includes/slot777/

https://www.aprendetrompeta.com/wp-admin/slot777/

https://www.carehealth.uk/wp-includes/slot777/

https://justforbaby.co/slot777/

ion slot gacor

judi bola online

slot777

slot777

slot bet 100

slot bet 100

https://creativelifestyleblog.com/