
เคยสงสัยไหมครับ ว่าค่า SPF หรือ PA ที่ระบุอยู่บนฉลากครีมกันแดดนั้น ถูกวัดมาอย่างไร ? แล้วค่าที่ระบุนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ?
จริง ๆ ต้องบอกแบบนี้ครับว่า ประสิทธิภาพในการกันแดด ไม่ว่าจะเป็นค่า SPF หรือค่า PA ก็ตาม สามารถวัดได้จากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือต่างกันครับ
AMT Skincare เราเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณบรรลุจุดมุ่งหมายในการดูแลผิวที่คุณหวังไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดังนั้น เราจึงกำหนดมาตรฐานในการวัดค่ากันแดด เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ออกเป็น 4 ข้อครับ คือ
1. วัดค่ากันแดดบนผิวคนจริง ๆ
จริง ๆ แล้วการวัดค่ากันแดด สามารถวัดได้จาก 2 วิธีหลัก ๆ ครับ คือ วัดโดยใช้เครื่อง กับวัดบนผิวคน
– การวัดโดยใช้เครื่อง มีข้อดีคือ มีค่าใช้จ่ายในการทำการทดลองที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังสามารถทำได้ง่ายกว่าด้วย แต่ข้อเสียคือ วิธีการวัดแบบนี้ ไม่ใช่การจำลองภาพการใช้งานจริงครับ เป็นเพียงการวัดค่ากันแดดที่ทาบนแผ่นพลาสติก ซึ่งไม่สามารถเทียบกับผิวคนจริง ๆ ได้
– การวัดบนผิวคน (ขอบคุณภาพจาก https://www.institut-fresenius.de/en/skin-expertise/services/photobiology) มีข้อดีคือ เป็นการจำลองสภาพการใช้งานจริง ๆ เพราะฉะนั้น ค่าที่วัดได้จะมีความน่าเชื่อถือกว่าครับ แต่ข้อเสียก็คือ ค่าใช้จ่ายในการทำทดลองในคนสูงกว่า และมีขั้นตอนการวัดที่ยุ่งยากกว่าครับ
2. วัดค่ากันแดดจากหลาย ๆ คน แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย
นอกจากนี้ การทดสอบในคนยังมีข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของการตอบสนองของผิวแต่ละคนที่ไม่เท่ากันนั่นเองครับ บางคนผิวไหม้แดดยาก วัดแล้วได้ค่าสูง บางคนผิวไหม้แดดง่าย วัดแล้วได้ค่าต่ำ หากเราทำการวัดในคน ๆ เดียว ก็อาจจะได้ค่าที่ไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น เราจึงต้องทำการวัดในอาสาสมัครหลาย ๆ คน และใช้ค่าเฉลี่ย เพื่อลดผลของตอบสนองที่ไม่เท่ากันนั่นเองครับ
3. ใช้วิธีการวัดตามมาตรฐาน ISO
การจะวัดค่ากันแดดออกมาสักค่าหนึ่ง ไม่ใช่ว่าจะสามารถเขียนวิธีการทดลองมั่ว ๆ ขึ้นมาได้นะครับ แต่จะต้องใช้วิธีการวัดตามมาตรฐานที่เรียกว่า ISO นั่นเองครับ โดยถ้าเป็นการวัดค่า SPF ในคน เราจะใช้วิธีวัดตาม ISO 24444 ส่วนถ้าเป็นการวัดค่า PA ในคน จะใช้วิธีวัดตาม ISO 24442 นั่นเองครับ
แล้วมาตรฐาน ISO คืออะไร ?
มาตรฐาน ISO นั้นเป็นวิธีการวัดที่ผ่านการประชุมโดยนักวิชาการในแวดวงกันแดดจากนานาชาติครับ โดยทุกคนจะร่วมกันกำหนดวิธีในการวัดขึ้นมาว่าจะเป็นยังไง เช่น มีการกำหนดตั้งแต่อาสาสมัครจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และห้ามมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เวลาทดสอบต้องทากันแดดปริมาณเท่าไหร่ ทายังไง สวมปลอกนิ้วด้วยหรือเปล่า ทาแล้วทิ้งไว้กี่นาทีก่อนทำการวัด เวลาวัดใช้เครื่องอะไรในการจำลองแสง UV ใช้ความเข้มแสงเท่าไหร่ เป็นต้นครับ
4. ห้องแลบที่วัดผ่านการรับรอง
เพราะการจะวัดตามมาตรฐาน ISO นั้นยุ่งยากมาก ดังนั้น ห้องแลบที่จะวัด รวมถึงบุคคลากรในห้องแลบ จะต้องผ่านการฝึกฝน อบรม และรับรองจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น มาตรฐาน ISO 9001, GLP (Good Laboratory Practices) ครับ
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ห้องแลบนั้นได้รับรองเป็นสมาชิกของ BIPEA หรือองค์กรควบคุมมาตรฐานการวัดของยุโรป ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องการันตีได้ว่าห้องแลบนี้มีคุณภาพในการวัดที่เที่ยงตรงสูง และไม่มีอคติอีกด้วยครับ
——
ด้วยมาตรฐานทั้งหมดนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า SPF 30 PA++++ ใน “AMT Anti-aging & Moisturizing UV Defensive Skincare” นั้น ไม่ใช่ค่าที่บังเอิญวัดมาได้สูง หรือต่ำเกินจริง แต่เป็นค่าที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้แน่นอนครับ
#AMTSkincare #AMTfamily #YourSkinGuardian #DidYouKnow #Skincare #สกินแคร์ #ผิวสุขภาพดี
————————————————
กด ‘See First’ เพื่อให้ไม่พลาดคอนเทนต์ดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Skincare
.
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับเราได้ที่