
Inner Dry Skin คืออะไร?
A : เธอใช้สกินแคร์อะไรอ่ะ
B : เราเป็นคนผิวมันอ่ะ ใช้สกินแคร์แบบ oil free หน้าจะได้ไม่มันเพิ่ม กลัวอุดตัน เป็นสิวด้วย

คนที่ผิวมันส่วนใหญ่ผิวมันแต่ภายนอก แต่ภายในแห้งสนิท เราเรียกสภาพผิวแบบนี้ว่า Inner Dry Skin
ลักษณะของผิวแบบ Inner Dry Skin สามารถสังเกตได้จากผิวจะมีความันทั่วทั้งใบหน้า แต่เมื่อล้างหน้าและเช็ดให้แห้ง ทิ้งไว้ 10-15 นาทีโดยไม่ได้ใช้สกินแคร์ผิวจะแห้งมาก บางคนอาจจะเห็นเป็นขุยๆ โดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง
Inner Dry Skin ไม่ใช่สภาพผิวที่ปกติ สาเหตุหลักมักมาจากเกราะคุ้มครองผิว หรือ skin barrier นั้นไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผิวแบบ Inner Dry Skin จะพยายามเอาตัวรอดจากการขาดน้ำ โดยการสร้างไขมันออกมาปกคลุมผิวเอาไว้ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ผิวสูญเสียน้ำน้อยลง ผิวไม่แห้งมากไปกว่านี้แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ อาทิเช่น
1. สภาพผิวภายในยังคงแห้งอยู่ ไม่ชุ่มชื้นเหมือนผิวปกติ ทำให้ผิวแลดูหมอง ไม่กระจ่างใส และความแห้งอาจทำให้เกิดริ้วรอยตื้นๆเป็นลายทางได้
2. สภาพผิวที่แห้งส่งผลให้เศษเซลล์ผิวเก่าที่หมดสภาพแล้วไม่สามารถหลุดลอกออกไปตามธรรมชาติได้ เกิดการสะสมตัวบริเวณรอบรูขุมขนทำให้รูขุมขนแลดูกว้าง
3. เศษเซลล์ที่อุดตันรูขุมขน และปริมาณไขมันที่ถูกสร้างออกมามากขึ้น อาจทำให้เป็นสิวอุดตันได้ง่าย

ผิวแบบ Inner Dry Skin กับ ผิวผสม(Combination Skin) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
เหมือนกันตรงที่มีความมันเหมือนกัน แต่ผิวผสมจะมีความมันเฉพาะบริเวณ T-Zone หรือบริเวณ หน้าผาก จมูกและคาง แต่ผิวแบบ Inner Dry Skin จะมีความมันทั่วทั้งใบหน้า
ผิวแบบ Inner Dry Skin กับ ผิวมัน(Oily Skin) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
ผิว 2 ชนิดนี้มีคนสับสนกันมาก เนื่องจากมีความมันทั่วทั้งใบหน้าเหมือนกัน จุดสังเกตที่ง่าย คือ หลังล้างหน้าผิวแบบ Inner Dry Skin จะมีความแห้งมาก (ผิวมัน หลังล้างหน้าเอาความมันที่ชั้นบนออก ผิวภายในยังชุ่มชื้นอยู่) นอกจากนี้ผิว Inner Dry Skin มักพบปัญหารูขุมขนกว้างแต่งหน้าไม่ติดทน อักเสบเห่อแดง และสิวอุดตันร่วมด้วย

ขั้นตอนการดูแลผิวแบบ Inner Dry Skin
ขั้นตอนที่ 1 ล้างหน้าทำความสะอาดผิว
ชนิดของสารชำระล้างและส่วนผสมในสูตรตำรับมีความสำคัญมากจริงอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ เทคนิคการล้างหน้า เราแนะนำให้คุณล้างหน้า โดยเน้นที่บริเวณ หน้าผาก จมูก และคาง ส่วนบริเวณอื่น เช่นแก้ม รอบดวงตา เส้นแนวขากรรไกร ให้ ล้างโดยลูบบางๆ ก็เพียงพอแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมผิวให้พร้อมต่อการให้น้ำและไขมัน
สภาพผิวแบบ Inner Dry Skin นั้นมีสาเหตุหลักมาจาก Skin Barrier ที่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนที่จะให้น้ำและไขมันแก่ผิว เราจะต้องซ่อมแซม Skin Barrier ก่อน เพื่อปรับสภาพผิวให้พร้อมรับและกักเก็บน้ำและไขมันที่จะให้ในขั้นตอนต่อไปได้
“Lecithin เป็นสารที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการซ่อมแซม Skin Barrier และยังมีคุณสมบัติเป็น Boosting Agent ให้น้ำและไขมันซึมผ่านเข้าสู่ผิวได้ดีขึ้นอีกด้วย”

ขั้นตอนที่ 3 ให้ไขมันก่อนให้น้ำ
ตรงนี้หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภท Essence หรือ Toner ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทให้น้ำก่อน แล้วจึงตามด้วย Emulsion ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทให้ไขมันซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด แต่สาเหตุที่ AMT SKINCARE แนะนำ “ให้ไขมันก่อนให้น้ำ” คือ
“ไขมันจะช่วยทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวนุ่มขึ้น และเมื่อช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวนุ่มขึ้นแล้ว น้ำที่เราจะทำการให้ในขั้นตอนต่อไป จะซึมผ่านเซลล์ผิวได้ดีกว่า โดยเฉพาะผิวที่มีปัญหา Inner Dry Skin เราพบว่าการให้ไขมันก่อนให้น้ำ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นได้ดีกว่า”
“แต่ตรงนี้มีข้อควรระวังคือ ไขมัน ที่ให้เข้าไปก่อนนั้น จะต้องมีปริมาณที่ไม่มากไป และจะต้องมีสัดส่วนของไขมันที่เป็น Occlusive ให้น้อยที่สุด มิฉะนั้น การให้ไขมันก่อนน้ำจะไปขัดขวางการซึมผ่านของน้ำสู่ผิวได้”

ขั้นตอนที่ 4 เติมให้น้ำผิว
เมื่อเตรียมสภาพผิวจาก 3 ขั้นตอนแรกเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้คือการให้น้ำแก่ผิว ฟังดูง่ายและไม่มีข้อควรระวังพิเศษ แต่เพื่อให้น้ำซึมผ่านผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามีข้อแนะนำ คือ
1. ส่วนประกอบในสูตรจะต้องไม่ประกอบด้วยโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่เกินไป เนื่องจากอาจขัดขวางการซึมผ่านของน้ำสู่ผิวชั้นลึกได้
2. ควรใช้ส่วนประกอบที่มีความเข้ากันได้ทั้งน้ำและไขมัน เพื่อช่วยเพิ่มการซึมผ่าน ของน้ำสู่ผิวชั้นลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การใช้ cotton pad มีส่วนช่วยให้ผิวสัมผัสกับน้ำจำนวนมากได้ในเวลาที่สั้น ส่งผลให้ผิวได้รับน้ำมากขึ้น วิธีใช้คือ หยดผลิตภัณฑ์ลงบน cotton pad ให้ชุ่มแล้ว pad เบาๆ ทั่วผิวหน้า

ขั้นตอนที่ 5 ปิดฝาให้ผิว
ขั้นตอนสุดท้ายคือ กักเก็บน้ำและไขมันที่ให้ไป ให้อยู่กับผิวนานที่สุด ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนนี้ จะเน้นไปที่ไขมันที่มีคุณสมบัติเป็น Occlusive แต่ไขมันจำพวกนี้มักจะเหนียวเหนอะหนะ เช่น Petrolatum Jelly หรือ Vaseline ผู้คิดค้นสูตรจะต้องเลือกชนิดและปริมาณให้เหมาะสม เพื่อที่จะให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและสัมผัสที่น่าใช้ไม่เหนียวเหนอะหนะจนเกินไป
Tag : ปัญหาผิวแห้ง ปัญหาผิวมัน ผิวระคายเคืองง่าย สิว รูขุมขนกว้าง
#AMTSkincare #AMTFamily #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์ #ผิวสุขภาพดี
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่

Inner Dry Skin คืออะไร?
A : เธอใช้สกินแคร์อะไรอ่ะ
B : เราเป็นคนผิวมันอ่ะ ใช้สกินแคร์แบบ oil free หน้าจะได้ไม่มันเพิ่ม กลัวอุดตัน เป็นสิวด้วย

คนที่ผิวมันส่วนใหญ่ผิวมันแต่ภายนอก แต่ภายในแห้งสนิท เราเรียกสภาพผิวแบบนี้ว่า Inner Dry Skin
ลักษณะของผิวแบบ Inner Dry Skin สามารถสังเกตได้จากผิวจะมีความันทั่วทั้งใบหน้า แต่เมื่อล้างหน้าและเช็ดให้แห้ง ทิ้งไว้ 10-15 นาทีโดยไม่ได้ใช้สกินแคร์ผิวจะแห้งมาก บางคนอาจจะเห็นเป็นขุยๆ โดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง
Inner Dry Skin ไม่ใช่สภาพผิวที่ปกติ สาเหตุหลักมักมาจากเกราะคุ้มครองผิว หรือ skin barrier นั้นไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผิวแบบ Inner Dry Skin จะพยายามเอาตัวรอดจากการขาดน้ำ โดยการสร้างไขมันออกมาปกคลุมผิวเอาไว้ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ผิวสูญเสียน้ำน้อยลง ผิวไม่แห้งมากไปกว่านี้แต่ก็มีข้อเสียหลายประการ อาทิเช่น
1. สภาพผิวภายในยังคงแห้งอยู่ ไม่ชุ่มชื้นเหมือนผิวปกติ ทำให้ผิวแลดูหมอง ไม่กระจ่างใส และความแห้งอาจทำให้เกิดริ้วรอยตื้นๆเป็นลายทางได้
2. สภาพผิวที่แห้งส่งผลให้เศษเซลล์ผิวเก่าที่หมดสภาพแล้วไม่สามารถหลุดลอกออกไปตามธรรมชาติได้ เกิดการสะสมตัวบริเวณรอบรูขุมขนทำให้รูขุมขนแลดูกว้าง
3. เศษเซลล์ที่อุดตันรูขุมขน และปริมาณไขมันที่ถูกสร้างออกมามากขึ้น อาจทำให้เป็นสิวอุดตันได้ง่าย

ผิวแบบ Inner Dry Skin กับ ผิวผสม(Combination Skin) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
เหมือนกันตรงที่มีความมันเหมือนกัน แต่ผิวผสมจะมีความมันเฉพาะบริเวณ T-Zone หรือบริเวณ หน้าผาก จมูกและคาง แต่ผิวแบบ Inner Dry Skin จะมีความมันทั่วทั้งใบหน้า
ผิวแบบ Inner Dry Skin กับ ผิวมัน(Oily Skin) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
ผิว 2 ชนิดนี้มีคนสับสนกันมาก เนื่องจากมีความมันทั่วทั้งใบหน้าเหมือนกัน จุดสังเกตที่ง่าย คือ หลังล้างหน้าผิวแบบ Inner Dry Skin จะมีความแห้งมาก (ผิวมัน หลังล้างหน้าเอาความมันที่ชั้นบนออก ผิวภายในยังชุ่มชื้นอยู่) นอกจากนี้ผิว Inner Dry Skin มักพบปัญหารูขุมขนกว้างแต่งหน้าไม่ติดทน อักเสบเห่อแดง และสิวอุดตันร่วมด้วย

ขั้นตอนการดูแลผิวแบบ Inner Dry Skin
ขั้นตอนที่ 1 ล้างหน้าทำความสะอาดผิว
ชนิดของสารชำระล้างและส่วนผสมในสูตรตำรับมีความสำคัญมากจริงอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ เทคนิคการล้างหน้า เราแนะนำให้คุณล้างหน้า โดยเน้นที่บริเวณ หน้าผาก จมูก และคาง ส่วนบริเวณอื่น เช่นแก้ม รอบดวงตา เส้นแนวขากรรไกร ให้ ล้างโดยลูบบางๆ ก็เพียงพอแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมผิวให้พร้อมต่อการให้น้ำและไขมัน
สภาพผิวแบบ Inner Dry Skin นั้นมีสาเหตุหลักมาจาก Skin Barrier ที่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนที่จะให้น้ำและไขมันแก่ผิว เราจะต้องซ่อมแซม Skin Barrier ก่อน เพื่อปรับสภาพผิวให้พร้อมรับและกักเก็บน้ำและไขมันที่จะให้ในขั้นตอนต่อไปได้
“Lecithin เป็นสารที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการซ่อมแซม Skin Barrier และยังมีคุณสมบัติเป็น Boosting Agent ให้น้ำและไขมันซึมผ่านเข้าสู่ผิวได้ดีขึ้นอีกด้วย”

ขั้นตอนที่ 3 ให้ไขมันก่อนให้น้ำ
ตรงนี้หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ผลิตภัณฑ์ประเภท Essence หรือ Toner ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทให้น้ำก่อน แล้วจึงตามด้วย Emulsion ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทให้ไขมันซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด แต่สาเหตุที่ AMT SKINCARE แนะนำ “ให้ไขมันก่อนให้น้ำ” คือ
“ไขมันจะช่วยทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวนุ่มขึ้น และเมื่อช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวนุ่มขึ้นแล้ว น้ำที่เราจะทำการให้ในขั้นตอนต่อไป จะซึมผ่านเซลล์ผิวได้ดีกว่า โดยเฉพาะผิวที่มีปัญหา Inner Dry Skin เราพบว่าการให้ไขมันก่อนให้น้ำ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นได้ดีกว่า”
“แต่ตรงนี้มีข้อควรระวังคือ ไขมัน ที่ให้เข้าไปก่อนนั้น จะต้องมีปริมาณที่ไม่มากไป และจะต้องมีสัดส่วนของไขมันที่เป็น Occlusive ให้น้อยที่สุด มิฉะนั้น การให้ไขมันก่อนน้ำจะไปขัดขวางการซึมผ่านของน้ำสู่ผิวได้”

ขั้นตอนที่ 4 เติมให้น้ำผิว
เมื่อเตรียมสภาพผิวจาก 3 ขั้นตอนแรกเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้คือการให้น้ำแก่ผิว ฟังดูง่ายและไม่มีข้อควรระวังพิเศษ แต่เพื่อให้น้ำซึมผ่านผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามีข้อแนะนำ คือ
1. ส่วนประกอบในสูตรจะต้องไม่ประกอบด้วยโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่เกินไป เนื่องจากอาจขัดขวางการซึมผ่านของน้ำสู่ผิวชั้นลึกได้
2. ควรใช้ส่วนประกอบที่มีความเข้ากันได้ทั้งน้ำและไขมัน เพื่อช่วยเพิ่มการซึมผ่าน ของน้ำสู่ผิวชั้นลึกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การใช้ cotton pad มีส่วนช่วยให้ผิวสัมผัสกับน้ำจำนวนมากได้ในเวลาที่สั้น ส่งผลให้ผิวได้รับน้ำมากขึ้น วิธีใช้คือ หยดผลิตภัณฑ์ลงบน cotton pad ให้ชุ่มแล้ว pad เบาๆ ทั่วผิวหน้า

ขั้นตอนที่ 5 ปิดฝาให้ผิว
ขั้นตอนสุดท้ายคือ กักเก็บน้ำและไขมันที่ให้ไป ให้อยู่กับผิวนานที่สุด ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนนี้ จะเน้นไปที่ไขมันที่มีคุณสมบัติเป็น Occlusive แต่ไขมันจำพวกนี้มักจะเหนียวเหนอะหนะ เช่น Petrolatum Jelly หรือ Vaseline ผู้คิดค้นสูตรจะต้องเลือกชนิดและปริมาณให้เหมาะสม เพื่อที่จะให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและสัมผัสที่น่าใช้ไม่เหนียวเหนอะหนะจนเกินไป
Tag : ปัญหาผิวแห้ง ปัญหาผิวมัน ผิวระคายเคืองง่าย สิว รูขุมขนกว้าง
#AMTSkincare #AMTFamily #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์ #ผิวสุขภาพดี
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่