
เคยไหมครับ บำรุงสกินแคร์ไปหลายขั้นตอนแล้ว แต่ทำไมพอตื่นเช้ามาผิวยังแห้งอยู่ ? อาจเป็นเพราะไม่ได้ปิดฝาผิวหรือเปล่า ? The Skincare Handbook ตอนที่ 29 นี้ ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับการปิดฝาผิวหรือ Moisture Shielding ว่ามันคืออะไร แล้วการปิดฝาผิวนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราจะต้องปิดฝาผิวด้วย

การปิดฝาผิวคืออะไร ? การปิดฝาผิวเป็นการบำรุงผิวในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังชนิดหนึ่ง โดยการสร้างชั้นของไขมันปกคลุมผิวด้านบน เพื่อให้ผิวเสียน้ำได้ยากขึ้น (Occlusive Effect) (รายละเอียดเรื่อง Occlusive อ่านต่อได้ในบทความเรื่อง “Moisture ได้ยินบ่อย ๆ เข้าใจความหมายจริง ๆ หรือยัง ?” หรือคลิก https://bit.ly/3h3tv1f ได้เลยครับ) ตัวอย่างของสารที่ใช้ในการปิดฝาผิวที่หลายท่านน่าจะรู้จักและคุ้นเคยกันดี เช่น Beeswax, Petrolutum Jelly เป็นต้นครับ
แล้วการปิดฝาผิวสำคัญอย่างไร ? ผมอยากให้ทุกท่านลองนึกภาพตามนะครับ สมมติว่าเราเอาเจลาตินไปแช่น้ำจนพอง ตัดแบ่งไปส่วนนึง วางทิ้งไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ อีกส่วนนึงเก็บไว้ในถุงซิปล็อคแล้วซีลปากถุงให้สนิท ทิ้งไว้ 1 คืน ตื่นเช้ามา คิดว่าเจลาตินทั้ง 2 ส่วนนี้จะเป็นยังไงบ้างครับ ?
แน่นอนครับ แผ่นที่วางทิ้งไว้ข้างนอก ก็จะแห้งและแข็ง เพราะน้ำที่ให้ไปตอนแรกระเหยออกไปหมด ส่วนแผ่นที่อยู่ในถุงซิปล็อกจะยังคงชุ่มน้ำอยู่เหมือนเดิม นั่นก็เป็นเพราะน้ำที่อยู่ในเจลาตินนั้นไม่สามารถระเหยออกไปไหนได้นั่นเอง
ผิวคนเราก็เหมือนกันครับ แต่ต่างกันตรงที่เราคงไม่สามารถเอาถุงมาคลุมผิวไว้เพื่อไม่ให้น้ำระเหยออกไปได้ใช่มั้ยล่ะครับ สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ใช้สกินแคร์ที่มีคุณสมบัติ “ปิดฝาผิว” เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากบำรุงผิวด้วยน้ำและไขมันเข้าไปเต็มที่แล้ว เพียงเท่านี้ ก็สามารถกักเก็บน้ำไว้ในผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้นได้นานขึ้นครับ

ส่วนผสมที่ใช้ปิดฝาผิวในสกินแคร์มีอะไรบ้าง ? จริง ๆ แล้วมีอยู่หลายตัวเลยครับ ซึ่งแต่ละตัวก็มีข้อดีข้อเสีย และคุณสมบัติที่
แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มคือ
- แข็งและเกาะติดผิวแย่ (แต่แข็งในทีนี้ไม่ใช่แข็งแบบอิฐแบบปูนนะครับ) สารในกลุ่มนี้มีข้อดีคือ สามารถสร้างชั้นปิดฝาผิวหนา ๆ ได้ หมายความว่าจะสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีมาก ๆ นั่นเอง แต่ข้อเสียก็คือเนื้อสัมผัสมักจะไม่ค่อยดี แข็งและเปราะง่าย ความยืดหยุ่นต่ำ เหมือนกับขนมเค้กหน้าแห้ง ๆ ที่ครีมด้านบนเป็นรอยแตก ๆ เพราะไม่ยืดหยุ่นไปตามเนื้อขนมปัง การเกาะติดผิวไม่ดี เหมือนเวลาน้ำตาเทียนหยดใส่มือเรา พอเอามือหยิบก็จะแตก และหลุดออกจากผิวได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ เช่น Paraffin wax ครับ
- แข็งแต่เกาะติดผิวดี สารในกลุ่มนี้จะเนื้อแข็ง สามารถสร้างชั้นปิดฝาผิวหนา ๆ ได้ แต่เกาะติดผิวได้ดี เมื่อถูหรือสัมผัสกับอย่างอื่นก็ไม่หลุดออกไปง่าย แต่เนื่องจากฝาผิวที่ได้จากสารกลุ่มนี้มีความแข็งมาก สัมผัสหลังใช้ ผิวจะมีความกระด้าง
ไม่สบายผิว เราจะรู้สึกเหมือนมีแผ่นแข็ง ๆ อะไรซักอย่างมาหุ้มผิวเราอยู่ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ เช่น Candelilla Wax, Beeswax ครับ - ยืดหยุ่นแต่เกาะติดผิวแย่ สารในกลุ่มนี้จะมีข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง เพราะมีลักษณะเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) แต่ข้อเสียก็คือค่อนข้างเหนียวเหนอะหนะ เกาะติดผิวแย่ เช่น Petroleum Jelly ครับ
- ยืดหยุ่นและเกาะผิวดี สารในกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่น เพราะเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) เหมือนกัน การเกาะติดผิวดี บางตัวเหนียวเหนอะหนะ บางตัวไม่เหนียวเหนอะหนะ เช่น Shea Butter, Cocoa Butter, Mango Seed Butter ครับ ซึ่งกลุ่มนี้ เราเรียกรวม ๆ ได้ว่า Plant Butter ครับ
โดยการปิดฝาผิวที่ดีนั้น จะต้องมีความยืดหยุ่นที่ดีและเกาะติดผิวได้ดี สารในกลุ่ม Plant Butter จึงเป็น ตัวเลือกที่ดีในการนำมาใช้เพื่อปิดฝาผิวครับ

หลายท่านก็อาจจะมีคำถามต่อว่า แล้ว Plant Butter ที่ว่านี้คืออะไรล่ะ ? Plant Butter ก็คือไขมันแข็งที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) ที่ได้จากส่วนเมล็ดของพืชเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น Mango Seed Butter นั้น ก็ได้มาจากส่วนที่เป็นเนื้อของเมล็ดที่มีชื่อเรียกว่า Kernel ซึ่งอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ด (Endocarp) ซึ่ง Plant Butter ประกอบด้วยไขมันที่มีประโยชน์ต่อผิวมากมายเลยครับ

- Shea Butter เป็น Butter ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากมีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวเยอะ โดยมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 1.13 มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิของผิวหนังของเราพอดี ดังนั้นเวลาที่เราทา Shea Butter ลงไปบนผิวหนัง มันก็จะ Melt อยู่บนผิวทันทีเลยครับ ซึ่งมีข้อดีก็คือ เนื้อเหลว สามารถทาเกลี่ยได้ง่าย แต่จะมีความเหนียวเหนอะหนะ เพราะว่ามันหลอมเหลวและไม่เซตตัวบนผิวเท่าไหร่ครับ อีกทั้งด้วยความที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเยอะ ก็จะมีข้อเสียคือ กลิ่นเหม็นหืนง่าย และสีก็จะเปลี่ยนง่ายด้วยครับ
- Cocoa Butter เป็น Butter ที่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ดีมาก แต่เนื่องจากมีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 0.6 เท่านั้น จึงทำให้เนื้อหนัก มีความ Rich มาก อาจไม่เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา แต่ก็มักนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครีมทาหน้าท้องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือครีมที่ใช้ในประเทศที่มีอากาศเย็นและแห้งมาก ๆ เป็นต้นครับ
- Mango Seed Butter เป็น Butter ที่มีค่าอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 0.9 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะเพราะไม่ได้มีไขมันอิ่มตัวมากจนเกินไป มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ราว 37 องศาเซลเซียส ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อถูเกลี่ยและเกิดความร้อนขึ้น Mango Seed Butter นี้ก็จะ Melt ไปที่ผิว ทำให้สามารถเกลี่ยได้ง่าย แต่พอหยุดถูแล้ว ก็จะเซตตัวติดอยู่ที่ผิวหนังได้ดี ทำให้ไม่เหนียวเหนอะหนะ แต่ยังมีข้อเสียก็คือ มีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวที่ยังเยอะอยู่ ทำให้กลิ่นเหม็นหืนง่าย และสีเปลี่ยนง่ายเช่นเดียวกับครับ

แล้วจะทำยังไงให้ได้ Mango Seed Butter ที่เหม็นหืนยาก คงตัวดี ? ปัญหาเรื่องการเหม็นหืนและสีที่เปลี่ยนง่ายเนื่องจากมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวที่ค่อนข้างเยอะของ Mango Seed Butter นั้น สามารถแก้ได้โดยการนำไปเข้ากระบวนการ Refine เพื่อทำให้ Butter มีคุณภาพดีขึ้น แต่แค่ดีอย่างเดียวยังไม่พอครับ ต้องดีมากไปกว่านั้นอีกด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Super Refine ครับ โดยเริ่มจากนำเมล็ดมาทำการสกัด เพื่อให้ได้ Mango Seed Butter ออกมาก่อน ซึ่งจะได้เป็น Butter ที่คุณภาพต่ำ เหม็นหืนง่าย จากนั้นทำการกำจัดสีและกลิ่น เติมวิตามิน E ป้องกันการหืน จนได้ออกมาเป็น Super Refined Mango Seed Butter ที่มีสีและกลิ่นดีขึ้น ไม่เหม็นหืนง่าย และมีความคงตัวมากขึ้น พร้อมนำไปใช้ใน AMT Skincare แล้วครับ !!

สุดท้ายนี้ ผมขออนุญาตแนะนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุดจาก AMT Skincare “AMT Anti-aging & Intensive Moisturizing Night Cream” สกินแคร์ที่ทำหน้าที่ปิดฝาผิว ใช้เป็น Step 4 ในตอนกลางคืน กักเก็บน้ำและไขมันที่ให้ไปในขั้นตอนก่อนหน้า
ล็อคความชุ่มชื้นไว้ในผิวให้อยู่ได้นานตลอดคืนโดยไม่เหนียวเหนอะหนะ ผมเลือกใช้อัตราส่วน Inner oil : Surface Oil = 35 : 65 ประกอบด้วย Mango Seed Butter ที่มีความยืดหยุ่นดี เกาะติดผิวดี ผมเลือกใช้วัตถุดิบเกรด Super Refined ที่มีความบริสุทธิ์สูง ไม่เหม็นหืนง่าย และด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ Mango Seed Butter ที่มีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวและไขมันอิ่มตัวพอเหมาะ ทำให้เกลี่ยถูบนผิวได้ง่าย แต่เมื่อทาเกลี่ยเสร็จแล้วจะเซตตัวได้ดี ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้กำลังจะเปิด Pre-order ในวันที่ 17-23 พฤษภาคมนี้แล้ว ขอบอกว่ามีโปรโมชั่นสุดพิเศษมาก ๆ แน่นอน ผมขอฝากทุกท่านติดตามกันด้วยนะครับ
Tag : ปัญหาผิวแห้ง
#AMTSkincare #AMAfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่

เคยไหมครับ บำรุงสกินแคร์ไปหลายขั้นตอนแล้ว แต่ทำไมพอตื่นเช้ามาผิวยังแห้งอยู่ ? อาจเป็นเพราะไม่ได้ปิดฝาผิวหรือเปล่า ? The Skincare Handbook ตอนที่ 29 นี้ ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับการปิดฝาผิวหรือ Moisture Shielding ว่ามันคืออะไร แล้วการปิดฝาผิวนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมเราจะต้องปิดฝาผิวด้วย

การปิดฝาผิวคืออะไร ? การปิดฝาผิวเป็นการบำรุงผิวในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังชนิดหนึ่ง โดยการสร้างชั้นของไขมันปกคลุมผิวด้านบน เพื่อให้ผิวเสียน้ำได้ยากขึ้น (Occlusive Effect) (รายละเอียดเรื่อง Occlusive อ่านต่อได้ในบทความเรื่อง “Moisture ได้ยินบ่อย ๆ เข้าใจความหมายจริง ๆ หรือยัง ?” หรือคลิก https://bit.ly/3h3tv1f ได้เลยครับ) ตัวอย่างของสารที่ใช้ในการปิดฝาผิวที่หลายท่านน่าจะรู้จักและคุ้นเคยกันดี เช่น Beeswax, Petrolutum Jelly เป็นต้นครับ
แล้วการปิดฝาผิวสำคัญอย่างไร ? ผมอยากให้ทุกท่านลองนึกภาพตามนะครับ สมมติว่าเราเอาเจลาตินไปแช่น้ำจนพอง ตัดแบ่งไปส่วนนึง วางทิ้งไว้ในห้องอุณหภูมิปกติ อีกส่วนนึงเก็บไว้ในถุงซิปล็อคแล้วซีลปากถุงให้สนิท ทิ้งไว้ 1 คืน ตื่นเช้ามา คิดว่าเจลาตินทั้ง 2 ส่วนนี้จะเป็นยังไงบ้างครับ ?
แน่นอนครับ แผ่นที่วางทิ้งไว้ข้างนอก ก็จะแห้งและแข็ง เพราะน้ำที่ให้ไปตอนแรกระเหยออกไปหมด ส่วนแผ่นที่อยู่ในถุงซิปล็อกจะยังคงชุ่มน้ำอยู่เหมือนเดิม นั่นก็เป็นเพราะน้ำที่อยู่ในเจลาตินนั้นไม่สามารถระเหยออกไปไหนได้นั่นเอง
ผิวคนเราก็เหมือนกันครับ แต่ต่างกันตรงที่เราคงไม่สามารถเอาถุงมาคลุมผิวไว้เพื่อไม่ให้น้ำระเหยออกไปได้ใช่มั้ยล่ะครับ สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ใช้สกินแคร์ที่มีคุณสมบัติ “ปิดฝาผิว” เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากบำรุงผิวด้วยน้ำและไขมันเข้าไปเต็มที่แล้ว เพียงเท่านี้ ก็สามารถกักเก็บน้ำไว้ในผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้นได้นานขึ้นครับ

แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มคือ
- แข็งและเกาะติดผิวแย่ (แต่แข็งในทีนี้ไม่ใช่แข็งแบบอิฐแบบปูนนะครับ) สารในกลุ่มนี้มีข้อดีคือ สามารถสร้างชั้นปิดฝาผิวหนา ๆ ได้ หมายความว่าจะสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีมาก ๆ นั่นเอง แต่ข้อเสียก็คือเนื้อสัมผัสมักจะไม่ค่อยดี แข็งและเปราะง่าย ความยืดหยุ่นต่ำ เหมือนกับขนมเค้กหน้าแห้ง ๆ ที่ครีมด้านบนเป็นรอยแตก ๆ เพราะไม่ยืดหยุ่นไปตามเนื้อขนมปัง การเกาะติดผิวไม่ดี เหมือนเวลาน้ำตาเทียนหยดใส่มือเรา พอเอามือหยิบก็จะแตก และหลุดออกจากผิวได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ เช่น Paraffin wax ครับ
- แข็งแต่เกาะติดผิวดี สารในกลุ่มนี้จะเนื้อแข็ง สามารถสร้างชั้นปิดฝาผิวหนา ๆ ได้ แต่เกาะติดผิวได้ดี เมื่อถูหรือสัมผัสกับอย่างอื่นก็ไม่หลุดออกไปง่าย แต่เนื่องจากฝาผิวที่ได้จากสารกลุ่มนี้มีความแข็งมาก สัมผัสหลังใช้ ผิวจะมีความกระด้าง
ไม่สบายผิว เราจะรู้สึกเหมือนมีแผ่นแข็งๆอะไรซักอย่างมาหุ้มผิวเราอยู่ ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ เช่น Candelilla Wax, Beeswax ครับ - ยืดหยุ่นแต่เกาะติดผิวแย่ สารในกลุ่มนี้จะมีข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง เพราะมีลักษณะเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) แต่ข้อเสียก็คือค่อนข้างเหนียวเหนอะหนะ เกาะติดผิวแย่ เช่น Petroleum Jelly ครับ
- ยืดหยุ่นและเกาะผิวดี สารในกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่น เพราะเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) เหมือนกัน การเกาะติดผิวดี บางตัวเหนียวเหนอะหนะ บางตัวไม่เหนียวเหนอะหนะ เช่น Shea Butter, Cocoa Butter, Mango Seed Butter ครับ ซึ่งกลุ่มนี้ เราเรียกรวม ๆ ได้ว่า Plant Butter ครับ
โดยการปิดฝาผิวที่ดีนั้น จะต้องมีความยืดหยุ่นที่ดีและเกาะติดผิวได้ดี สารในกลุ่ม Plant Butter จึงเป็น ตัวเลือกที่ดีในการนำมาใช้เพื่อปิดฝาผิวครับ

หลายท่านก็อาจจะมีคำถามต่อว่า แล้ว Plant Butter ที่ว่านี้คืออะไรล่ะ ? Plant Butter ก็คือไขมันแข็งที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Semi-solid) ที่ได้จากส่วนเมล็ดของพืชเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น Mango Seed Butter นั้น ก็ได้มาจากส่วนที่เป็นเนื้อของเมล็ดที่มีชื่อเรียกว่า Kernel ซึ่งอยู่ในเปลือกหุ้มเมล็ด (Endocarp) ซึ่ง Plant Butter ประกอบด้วยไขมันที่มีประโยชน์ต่อผิวมากมายเลยครับ

- Shea Butter เป็น Butter ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากมีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวเยอะ โดยมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 1.13 มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ประมาณ 30-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิของผิวหนังของเราพอดี ดังนั้นเวลาที่เราทา Shea Butter ลงไปบนผิวหนัง มันก็จะ Melt อยู่บนผิวทันทีเลยครับ ซึ่งมีข้อดีก็คือ เนื้อเหลว สามารถทาเกลี่ยได้ง่าย แต่จะมีความเหนียวเหนอะหนะ เพราะว่ามันหลอมเหลวและไม่เซตตัวบนผิวเท่าไหร่ครับ อีกทั้งด้วยความที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเยอะ ก็จะมีข้อเสียคือ กลิ่นเหม็นหืนง่าย และสีก็จะเปลี่ยนง่ายด้วยครับ
- Cocoa Butter เป็น Butter ที่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ดีมาก แต่เนื่องจากมีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 0.6 เท่านั้น จึงทำให้เนื้อหนัก มีความ Rich มาก อาจไม่เหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา แต่ก็มักนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครีมทาหน้าท้องสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือครีมที่ใช้ในประเทศที่มีอากาศเย็นและแห้งมาก ๆ เป็นต้นครับ
- Mango Seed Butter เป็น Butter ที่มีค่าอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวต่อไขมันอิ่มตัวอยู่ที่ 0.9 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะเพราะไม่ได้มีไขมันอิ่มตัวมากจนเกินไป มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ราว 37 องศาเซลเซียส ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษคือ เมื่อถูเกลี่ยและเกิดความร้อนขึ้น Mango Seed Butter นี้ก็จะ Melt ไปที่ผิว ทำให้สามารถเกลี่ยได้ง่าย แต่พอหยุดถูแล้ว ก็จะเซตตัวติดอยู่ที่ผิวหนังได้ดี ทำให้ไม่เหนียวเหนอะหนะ แต่ยังมีข้อเสียก็คือ มีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวที่ยังเยอะอยู่ ทำให้กลิ่นเหม็นหืนง่าย และสีเปลี่ยนง่ายเช่นเดียวกับครับ

แล้วจะทำยังไงให้ได้ Mango Seed Butter ที่เหม็นหืนยาก คงตัวดี ? ปัญหาเรื่องการเหม็นหืนและสีที่เปลี่ยนง่ายเนื่องจากมีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวที่ค่อนข้างเยอะของ Mango Seed Butter นั้น สามารถแก้ได้โดยการนำไปเข้ากระบวนการ Refine เพื่อทำให้ Butter มีคุณภาพดีขึ้น แต่แค่ดีอย่างเดียวยังไม่พอครับ ต้องดีมากไปกว่านั้นอีกด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Super Refine ครับ โดยเริ่มจากนำเมล็ดมาทำการสกัด เพื่อให้ได้ Mango Seed Butter ออกมาก่อน ซึ่งจะได้เป็น Butter ที่คุณภาพต่ำ เหม็นหืนง่าย จากนั้นทำการกำจัดสีและกลิ่น เติมวิตามิน E ป้องกันการหืน จนได้ออกมาเป็น Super Refined Mango Seed Butter ที่มีสีและกลิ่นดีขึ้น ไม่เหม็นหืนง่าย และมีความคงตัวมากขึ้น พร้อมนำไปใช้ใน AMT Skincare แล้วครับ !!

สุดท้ายนี้ ผมขออนุญาตแนะนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุดจาก AMT Skincare “AMT Anti-aging & Intensive Moisturizing Night Cream” สกินแคร์ที่ทำหน้าที่ปิดฝาผิว ใช้เป็น Step 4 ในตอนกลางคืน กักเก็บน้ำและไขมันที่ให้ไปในขั้นตอนก่อนหน้า
ล็อคความชุ่มชื้นไว้ในผิวให้อยู่ได้นานตลอดคืนโดยไม่เหนียวเหนอะหนะ ผมเลือกใช้อัตราส่วน Inner oil : Surface Oil = 35 : 65 ประกอบด้วย Mango Seed Butter ที่มีความยืดหยุ่นดี เกาะติดผิวดี ผมเลือกใช้วัตถุดิบเกรด Super Refined ที่มีความบริสุทธิ์สูง ไม่เหม็นหืนง่าย และด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของ Mango Seed Butter ที่มีอัตราส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวและไขมันอิ่มตัวพอเหมาะ ทำให้เกลี่ยถูบนผิวได้ง่าย แต่เมื่อทาเกลี่ยเสร็จแล้วจะเซตตัวได้ดี ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้กำลังจะเปิด Pre-order ในวันที่ 17-23 พฤษภาคมนี้แล้ว ขอบอกว่ามีโปรโมชั่นสุดพิเศษมาก ๆ แน่นอน ผมขอฝากทุกท่านติดตามกันด้วยนะครับ
Tag : ปัญหาผิวแห้ง
#AMTSkincare #AMAfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่