
เลยนะครับที่ชื่นชอบ และให้การสนับสนุน AMT Skincare มาโดยตลอด Handbook ตอนที่ 30 นี้ ผมอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว ว่าเป็นอย่างไร และมีวิธีการอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว เชิญอ่านต่อกันได้เลยครับ

เคยไหมครับ ? เวลาทาสกินแคร์ไปแล้ว รู้สึกว่าสกินแคร์นี้ซึมดีจังเลย คิดว่าใช้แล้วต้องได้ผลแน่ ๆ เพราะสารสำคัญเข้าไปที่ผิว
หมดแล้วจริง ๆ แล้วความรู้สึกที่ว่า “ซึมดี” นั้น ไม่ได้แปลว่า สารสำคัญซึมดีเสมอไปครับ การทาแล้วรู้สึกว่ามันซึม เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการระเหยของน้ำในสูตรก็ได้ครับ


ตรงนี้ผมขอพูดเรื่องการออกแบบสูตรสกินแคร์ให้ฟังครับ ว่าในฐานะของคนคิดค้นสูตร เวลาจะคิดสูตรเราจะต้องแยกสองเรื่องออกจากกัน นั่นก็คือ
- ส่วนแรก คือ การออกแบบให้สารสำคัญซึมเข้าไปสู่จุดที่จะออกฤทธิ์ เป็นส่วนที่สำคัญมาก ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ผสม ๆ กันครับ
- ส่วนที่สอง คือ การออกแบบให้รู้สึกดีในการใช้ เช่น รู้สึกซึมดี ไม่เหนอะหนะจนเกินไป ส่วนนี้นอกจากจะอาศัยวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องอาศัยศิลปะควบคู่ไปด้วยครับ
ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุป ก็คือ การจะทำสกินแคร์ให้สารสำคัญซึมดีและให้ความรู้สึกในการใช้ที่ดีด้วยต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะผสมกันครับ ผมชอบเปรียบเทียบการออกแบบสูตรสกินแคร์ เหมือนกับการทำอาหารครับ ถ้าเราสนใจแค่คุณค่าทางโภชนาการอย่างเดียว เราก็จะได้อาหารที่มีประโยชน์ กินแล้วร่างกายเติบโต แต่ไม่อร่อย นั่นเองครับ ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่อยากกิน ถ้าเป็นสกินแคร์ก็จะอาจไม่อยากทา แล้วถ้าเป็นสกินแคร์ที่สารสำคัญซึมดี แต่ไม่มีคนอยากทา ก็ไม่มีประโยชน์จริงมั้ยครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าซึมดีแล้วจะดีเสมอไปนะครับ ขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนที่ 1 เราต้องรู้ก่อนว่าสารนั้นจะไปออกฤทธิ์ที่ไหน ตัวอย่างเช่น Niacinamide มีคุณสมบัติในการเป็น Whitening ก็จะมีตำแหน่งที่สารออกฤทธิ์อยู่ที่เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) ซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างสุดของผิวหนังชั้นบน สารสำคัญนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องซึมเข้าไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างตรงจุด แต่สารสำคัญบางตัว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซึมเข้าไปในผิวหนังก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น สารกันแดด ก็ควรที่จะอยู่แค่เพียงบนผิวหนังชั้นนอกสุดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดเท่านั้น หรือสารกลุ่ม Occlusive ก็ควรจะเคลือบอยู่แค่บนผิว (หรืออย่างมากก็อาจจะแทรกซึมเข้ามาในผิวได้บ้าง เพื่อยึดเกาะให้แน่นขึ้น) เพื่อทำหน้าที่ปิดฝาผิว และกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ไม่ให้เสียไปครับ

ขั้นตอนที่ 2 คือ ต้องดูว่าสารสำคัญนั้นมีนิสัยเป็นอย่างไร ต้องบอกก่อนว่าหน้าที่ของผิวที่สำคัญก็คือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ไม่ให้มาทำลายผิว ซึ่งในขณะเดียวกัน ผิวก็จะป้องกันไม่ให้สารสำคัญบางชนิดผ่านเข้ามาเช่นกันครับ
โดยสารสำคัญที่ชอบน้ำมันเช่น วิตามิน E, วิตามิน A, Astaxanthin, น้ำมันจากเมล็ดแมคคาดาเมีย มีแนวโน้มที่จะซึมเข้าสู่ผิวดีอยู่แล้ว เพราะผิวของเราก็เป็นไขมันเหมือนกัน สารจึงผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างดี
ส่วนสารสำคัญที่ชอบน้ำ (ไม่ชอบน้ำมัน) เช่น Niacinamide, วิตามิน C, กรดอะมิโน จะไม่ค่อยซึมเข้าสู่ผิว เพราะนิสัยของสารเหล่านี้เข้ากับน้ำมันในผิวไม่ค่อยได้ ดังนั้นถ้าเราไม่ช่วยนำส่งเข้าไป ก็อาจจะไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ครับ

ขั้นตอนที่ 3 คือ ถ้าสารสำคัญซึมไปไม่ถึงจุดออกฤทธิ์ เราต้องหาทางช่วยให้มันเข้าไปได้ครับ โดยการจะช่วยให้ซึมดีขึ้นนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าสารจะซึมหรือไม่ซึม มี 4 ข้อที่เกี่ยวข้องครับ นั่นก็คือ
- ความเข้มข้น หรือ % ของสาร – ยิ่งสารเข้มข้นมาก ก็จะยิ่งซึมดี
- นิสัยของสารสำคัญนั้น ๆ – สารที่ชอบน้ำมัน จะซึมดี / สารที่มีขนาดเล็ก ๆ ก็จะซึมดีเช่นกัน
- โครงสร้างผิว – ถ้าไขมันผิวเรียงตัวแบบหลวม ๆ สารก็จะซึมเข้าไปดี
- ความหนาของผิว – ผิวยิ่งบาง สารต่าง ๆ จะยิ่งซึมดี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากจะเพิ่มการซึมของสารสำคัญ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การเพิ่มความเข้มข้นครับ
ทำได้ง่าย ทำได้ทันที ตรงไปตรงมา ส่วนข้อ 2,3 ปรับนิสัยของสาร และ เปลี่ยนโครงสร้างผิว ทำได้ยากกว่า ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและเทคโนโลยีขั้นสูง ส่วนข้อ 4 เปลี่ยนความหนาของผิวนั้นในทางปฏิบัติเราจะไม่เสี่ยงทำให้ผิวบางลงเพื่อเพิ่มการซึมครับ เพราะมันเสี่ยงเกินไป


AMT เราเชื่อว่า สกินแคร์ที่ดีต้องมีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย เราจึงออกแบบให้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ของเราทุกตัวซึมไปออกทธิ์ได้ดีโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรวม ๆ กัน ไม่ใช่แค่การเพิ่มความเข้มข้นเพียงอย่างเดียว และการใช้วิธีการที่หลากหลายรวมกันทำอย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ ตอนหน้า Ep. 31 วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว (ตอนจบ) ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
Tag : Beauty tips
#AMTSkincare #AMTfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่

เลยนะครับที่ชื่นชอบ และให้การสนับสนุน AMT Skincare มาโดยตลอด Handbook ตอนที่ 30 นี้ ผมอยากจะมาเล่าเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว ว่าเป็นอย่างไร และมีวิธีการอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว เชิญอ่านต่อกันได้เลยครับ

หมดแล้วจริงๆ แล้วความรู้สึกที่ว่า “ซึมดี” นั้น ไม่ได้แปลว่า สารสำคัญซึมดีเสมอไปครับ การทาแล้วรู้สึกว่ามันซึม เป็นเพียงแค่ความรู้สึกเท่านั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการระเหยของน้ำในสูตรก็ได้ครับ


ตรงนี้ผมขอพูดเรื่องการออกแบบสูตรสกินแคร์ให้ฟังครับ ว่าในฐานะของคนคิดค้นสูตร เวลาจะคิดสูตรเราจะต้องแยกสองเรื่องออกจากกัน นั่นก็คือ
- ส่วนแรก คือ การออกแบบให้สารสำคัญซึมเข้าไปสู่จุดที่จะออกฤทธิ์ เป็นส่วนที่สำคัญมาก ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ผสมๆกันครับ
- ส่วนที่สอง คือ การออกแบบให้รู้สึกดีในการใช้ เช่น รู้สึกซึมดี ไม่เหนอะหนะจนเกินไป ส่วนนี้นอกจากจะอาศัยวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องอาศัยศิลปะควบคู่ไปด้วยครับ
ดังนั้นถ้ากล่าวโดยสรุป ก็คือ การจะทำสกินแคร์ให้สารสำคัญซึมดีและให้ความรู้สึกในการใช้ที่ดีด้วยต้องอาศัยความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะผสมกันครับ ผมชอบเปรียบเทียบการออกแบบสูตรสกินแคร์ เหมือนกับการทำอาหารครับ ถ้าเราสนใจแค่คุณค่าทางโภชนาการอย่างเดียว เราก็จะได้อาหารที่มีประโยชน์ กินแล้วร่างกายเติบโต แต่ไม่อร่อย นั่นเองครับ ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่อยากกิน ถ้าเป็นสกินแคร์ก็จะอาจไม่อยากทา แล้วถ้าเป็นสกินแคร์ที่สารสำคัญซึมดี แต่ไม่มีคนอยากทา ก็ไม่มีประโยชน์จริงมั้ยครับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าซึมดีแล้วจะดีเสมอไปนะครับ ขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนที่ 1 เราต้องรู้ก่อนว่าสารนั้นจะไปออกฤทธิ์ที่ไหน ตัวอย่างเช่น Niacinamide มีคุณสมบัติในการเป็น Whitening ก็จะมีตำแหน่งที่สารออกฤทธิ์อยู่ที่เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) ซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างสุดของผิวหนังชั้นบน สารสำคัญนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องซึมเข้าไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างตรงจุด แต่สารสำคัญบางตัว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องซึมเข้าไปในผิวหนังก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น สารกันแดด ก็ควรที่จะอยู่แค่เพียงบนผิวหนังชั้นนอกสุดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดดเท่านั้น หรือสารกลุ่ม Occlusive ก็ควรจะเคลือบอยู่แค่บนผิว (หรืออย่างมากก็อาจจะแทรกซึมเข้ามาในผิวได้บ้าง เพื่อยึดเกาะให้แน่นขึ้น) เพื่อทำหน้าที่ปิดฝาผิว และกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ไม่ให้เสียไปครับ

ขั้นตอนที่ 2 คือ ต้องดูว่าสารสำคัญนั้นมีนิสัยเป็นอย่างไร ต้องบอกก่อนว่าหน้าที่ของผิวที่สำคัญก็คือ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ไม่ให้มาทำลายผิว ซึ่งในขณะเดียวกัน ผิวก็จะป้องกันไม่ให้สารสำคัญบางชนิดผ่านเข้ามาเช่นกันครับ
โดยสารสำคัญที่ชอบน้ำมันเช่น วิตามิน E, วิตามิน A, Astaxanthin, น้ำมันจากเมล็ดแมคคาดาเมีย มีแนวโน้มที่จะซึมเข้าสู่ผิวดีอยู่แล้ว เพราะผิวของเราก็เป็นไขมันเหมือนกัน สารจึงผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างดี
ส่วนสารสำคัญที่ชอบน้ำ (ไม่ชอบน้ำมัน) เช่น Niacinamide, วิตามิน C, กรดอะมิโน จะไม่ค่อยซึมเข้าสู่ผิว เพราะนิสัยของสารเหล่านี้เข้ากับน้ำมันในผิวไม่ค่อยได้ ดังนั้นถ้าเราไม่ช่วยนำส่งเข้าไป ก็อาจจะไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งที่ต้องการไม่ได้ครับ

ขั้นตอนที่ 3 คือ ถ้าสารสำคัญซึมไปไม่ถึงจุดออกฤทธิ์ เราต้องหาทางช่วยให้มันเข้าไปได้ครับ โดยการจะช่วยให้ซึมดีขึ้นนั้น เราต้องรู้ก่อนว่าสารจะซึมหรือไม่ซึม มี 4 ข้อที่เกี่ยวข้องครับ นั่นก็คือ
- ความเข้มข้น หรือ % ของสาร – ยิ่งสารเข้มข้นมาก ก็จะยิ่งซึมดี
- นิสัยของสารสำคัญนั้น ๆ – สารที่ชอบน้ำมัน จะซึมดี / สารที่มีขนาดเล็ก ๆ ก็จะซึมดีเช่นกัน
- โครงสร้างผิว – ถ้าไขมันผิวเรียงตัวแบบหลวม ๆ สารก็จะซึมเข้าไปดี
- ความหนาของผิว – ผิวยิ่งบาง สารต่าง ๆ จะยิ่งซึมดี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าเราอยากจะเพิ่มการซึมของสารสำคัญ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การเพิ่มความเข้มข้นครับ
ทำได้ง่าย ทำได้ทันที ตรงไปตรงมา ส่วนข้อ 2,3 ปรับนิสัยของสาร และ เปลี่ยนโครงสร้างผิว ทำได้ยากกว่า ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางและเทคโนโลยีขั้นสูง ส่วนข้อ 4 เปลี่ยนความหนาของผิวนั้นในทางปฏิบัติเราจะไม่เสี่ยงทำให้ผิวบางลงเพื่อเพิ่มการซึมครับ เพราะมันเสี่ยงเกินไป


AMT เราเชื่อว่า สกินแคร์ที่ดีต้องมีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย เราจึงออกแบบให้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ของเราทุกตัวซึมไปออกทธิ์ได้ดีโดยใช้วิธีการที่หลากหลายรวม ๆ กัน ไม่ใช่แค่การเพิ่มความเข้มข้นเพียงอย่างเดียว และการใช้วิธีการที่หลากหลายรวมกันทำอย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ ตอนหน้า Ep. 31 วิทยาศาสตร์ของการนำส่งสารสำคัญสู่ผิว (ตอนจบ) ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
Tag : Beauty tips
#AMTSkincare #AMTfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้พวกเราได้ที่