จาก The Skincare Handbook ตอนที่ 34 เราทราบกันไปแล้วใช่ไหมครับว่า ปัจจัยที่มีผลต่ออันตรายจากแสงแดดมีอะไรบ้าง และประสิทธิภาพของกันแดดประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการกันแดดนั้นจะเป็นคุณสมบัติหลักของครีมกันแดด แต่ถ้าหากใช้แล้วแพ้ ทาแล้วเหนียวเหนอะหนะ ไม่สบายผิว หรือหน้ามันเยิ้มระหว่างวัน ก็คงไม่มีใครอยากใช้ใช่ไหมครับ ดังนั้น คอนเทนต์นี้ The Skincare Handbook ตอนที่ 35 ความรู้เรื่องกันแดดฉบับสมบูรณ์ บทที่ 2/3 ผมจะพูดถึงเรื่องของ “ประสิทธิภาพ VS ความปลอดภัย VS สัมผัสในการใช้” กันบ้างครับ รายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญอ่านต่อใต้ภาพได้เลยครับ
ถึงแม้ว่าคุณสมบัติหลักของครีมกันแดด คือประสิทธิภาพในการกันแดด แต่จริงๆแล้ว เวลานักวิจัยจะคิดค้นสูตรครีมกันแดดขึ้นมาซักสูตร เราจะไม่ได้คำนึงแค่ประสิทธิภาพในการกันแดดเพียงอย่างเดียวครับ เราจะต้องพิจารณาหลาย ๆ สิ่งควบคู่กันไปด้วย โดย 3 สิ่งที่นักวิจัยจะต้องให้ความสำคัญในการคิดค้นสูตรครีมกันแดด ได้แก่
1.ประสิทธิภาพในการกันแดด (Efficacy)
2. ความปลอดภัย (Safety)
3.สัมผัสในการใช้ (Feel and Texture)
หลายท่านอาจจะคิดว่า หากจะเลือกครีมกันแดดสักชิ้น ก็ต้องเน้นประสิทธิภาพสูง ๆ เอาไว้ก่อนจึงจะดี แต่ความจริงไม่เป็นแบบนั้นครับ เพราะครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการกันแดดสูงสุด อาจไม่ใช่ครีมกันแดดที่ดีที่สุดก็ได้ครับ เพราะอะไร ?
…..
…..
เหตุผลก็เพราะว่า ‘สารกันแดดทุกชนิด’ ในครีมกันแดด ไม่ว่าจะเป็นสารกันแดดชนิดไหน ไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียวครับ แต่มีผลข้างเคียงต่อผิวหนังของทุก ๆ ท่านด้วย ไม่มากก็น้อยครับ เช่น อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบผิว หรืออาจมีโอกาสสูดดมเข้าไป และตกค้างอยู่ในระบบทางเดินหายใจก็เป็นได้ โดยเฉพาะสารกันแดดที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร เป็นต้น หากเราเลือกครีมกันแดดโดยเน้นประสิทธิภาพมากเกินที่ต้องการ ผิวก็อาจจะได้รับผลข้างเคียงมากเกินจำเป็น เราจึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประสิทธิภาพกับความปลอดภัยเสมอครับ
การจะชั่งน้ำหนักระหว่างประสิทธิภาพกับความปลอดภัยนั้นทำอย่างไร ?
.
.
ไม่ยากเลยครับ ก่อนอื่นเราต้องประเมินก่อนว่ากิจกรรมในวันนี้ของเราจะเป็นอย่างไรบ้าง จะตากแดดมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น
– หากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ๆ เช่น เล่นกีฬากลางแจ้ง ไปทะเล หรือไปสถานที่ที่โดนแดดแรง ๆ การเลือกใช้กันแดดประสิทธิภาพสูงอย่าง SPF 50 PA++++ ในการปกป้องผิวจะเหมาะกว่า เพราะถึงแม้ว่าผิวเราจะได้รับผลข้างเคียง (Risk) จากสารกันแดดที่เพิ่มมากขึ้นก็จริง แต่ประโยชน์ (Benefit) ที่เราจะได้รับจากการใช้ครีมกันแดดเพื่อป้องกันแดดแรง ๆ ตอนทำกิจกรรมกลางแจ้งนั้นมีมากกว่า หรือเรียกได้ว่า Benefit มีมากกว่า Risk นั่นเองครับ เสริมอีกนิดนึงก็คือ เราอาจจะต้องพิจารณาคุณสมบัติเรื่องการกันน้ำของครีมกันแดดนั้น ๆ ว่าพอเพียงหรือไม่ หากต้องว่ายน้ำ เป็นต้น
– หากเป็นชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีความจำเป็นต้องตากแดดนาน เช่น โดนแดดบ้างตอนเดินทางมาทำงาน และตอนพักเที่ยง แต่นอกนั้นอยู่ในที่ร่มเป็นหลัก การเลือกใช้ครีมกันแดดประสิิทธิภาพรองลงมาอย่าง SPF 30 PA++++ ก็เพียงพอต่อการปกป้องผิวจากรังสี UV โดยที่ผิวไม่ต้องสัมผัสกับสารกันแดดที่มากเกินความจำเป็นด้วยครับ เพราะ SPF 30 กับ SPF 50 นั้นในความเป็นจริงแล้ว ประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ต่างกันเพียงแค่ 1% เท่านั้นครับ
– หรือในกรณีที่ผิวกำลังเสียหาย ระคายเคืองง่ายไม่แข็งแรง หรือมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ และใช้ชีวิตอยู่แต่ในร่มเป็นส่วนใหญ่ การเลือกใช้กันแดดประสิทธิภาพกลาง ๆ อย่าง SPF 30 PA+++ ก็อาจจะเพียงพอแล้วครับ
หากพิจารณาประสิทธิภาพในการกันแดดและความปลอดภัยแล้ว ครีมกันแดด SPF 30 PA++++ นั้นถือว่าเหมาะสม และเพียงพอต่อการปกป้องผิวจากรังสี UV ในชีวิตประจำวัน
แต่รู้หรือไม่ครับว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 PA++++ เท่ากันนั้น ความปลอดภัยและสัมผัสในการใช้ต่างกัน !
ที่เป็นแบบนี้ก็เป็นเพราะ ชนิดของสารกันแดด จำนวนชนิดของสารกันแดด ปริมาณของสารกันแดดที่ใช้ในสูตรอาจต่างกันครับ
ในมุมของนักวิจัยนั้น การจะได้มาซึ่งค่า SPF และ PA ที่ต้องการ เราทำได้หลายวิธีครับ เราอาจจะใช้สารกันแดด 2-3 ตัว แล้วใส่เยอะ ๆ หน่อย หรืออาจใช้ 6-10 ตัว แล้วใช้อย่างละนิดก็ได้ครับ แต่ต้องใช้สารกันแดดหลาย ๆ ชนิดผสมกัน ชนิดของสารที่ใช้ยิ่งเยอะ ความเสี่ยงในการแพ้ที่ก็จะยิ่งเยอะขึ้นตามไปด้วย แต่ข้อดีคือจะใช้ปริมาณของสารน้อยลง ทำให้ได้สัมผัสที่ดีในการใช้ครับ ตัวอย่างเช่น
– หากใช้สารกันแดดเพียง 2-3 ชนิด จะมีข้อดี คือ เนื่องจากชนิดของสารมีน้อย โอกาสจะเกิดการแพ้แบบ Allergy ก็มีน้อย (การแพ้แบบ Allergy คืออะไร อ่านย้อนหลังได้ที่ bit.ly/2IU4mt8) ซึ่งจะปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่าเล็กน้อย แต่ข้อเสีย คือ จะต้องใส่ปริมาณเยอะ ๆ ทำให้สัมผัสในการใช้แย่ เช่น เหนอะหนะ เกลี่ยยาก ใช้แล้ววอก หรือมันเยิ้มระหว่างวัน เป็นต้นครับ
– แต่ครั้นจะเพิ่มจำนวนสารที่ใช้ให้มากถึง 6-10 ชนิด เพื่อลดปริมาณสารที่ต้องใส่ในสูตร ให้ได้สัมผัสในการใช้ที่ดีกว่านี้ ผมคิดว่าอาจจะไม่คุ้มกับความเสี่ยงในการแพ้ที่มากขึ้น เนื่องจากชนิดของสารมากขึ้นนั่นเองครับ
– ดังนั้น ทางสายกลางจึงเหมาะที่สุดครับ ใช้สารกันแดดไม่มากไม่น้อยเกินไป ประมาณ 4-5 ชนิด ความเสี่ยงในการแพ้ก็อาจจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อยเมื่อเทียบกับการใช้ 2-3 ชนิด แต่สามารถลดปริมาณสารที่ต้องใส่ในสูตรได้มากเลยทีเดียว ทำให้ได้สัมผัสในการใช้ที่ดี ไม่เหนอะหนะ เกลี่ยง่าย น่าใช้กว่ามากครับ
หน้าร้อนปีนี้ เตรียมพบกับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจาก AMT
“AMT Anti-aging & Moisturizing UV Defensive Skincare Broad Spectrum SPF 30 PA++++”
สกินแคร์กันแดด Broad Spectrum SPF 30 PA++++ ที่เหมาะกับชีวิตประจำวันของคุณ ผสานสารกันแดด 4 ชนิดช่วยเสริมฤทธิ์กัน
#“ประสิทธิภาพสูง” #“มีความปลอดภัย” และ #“สัมผัสในการใช้ดี” เกลี่ยง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ
เตรียมเปิดจองเร็ว ๆ นี้ พร้อมโปรโมชั่นเปิดตัวสุดพิเศษ หากท่านที่สนใจสามารถเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดี ๆ ได้ที่ LINE : @amtskincare (หรือคลิก https://bit.ly/3av6XCr) ครับ
ติดตามเราได้ที่