
สวัสดีทุกท่านครับ ห่างหายไปนานกับ The Skincare Handbook คอนเทนต์ให้ความรู้เรื่องผิวและสกินแคร์จาก AMT วันนี้ The Skincare Handbook กลับมาพร้อมกับตอนที่ 34 ในหัวข้อ “ความรู้เรื่องกันแดดฉบับสมบูรณ์” ครับ และด้วยความที่เป็นฉบับสมบูรณ์ ดังนั้น เนื้อหาจะค่อนข้างยาวนิดนึงครับ ผมจึงแบ่งออกเป็น 3 บทย่อย โดยบทที่ 1/3 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออันตรายจากแสงแดด และความหมายของค่า SPF กับ PA รายละเอียดอ่านต่อใต้ภาพได้เลยครับ

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมแต่ละคนจึงเริ่มได้รับผลเสียจากแดดไม่เท่ากัน ? ทำไมคนผิวสีอ่อนจึงไหม้แดดเร็วกว่าคนผิวสีเข้ม ? หรือ ทำไมเดินออกไปข้างนอกตอนกลางวันแค่ชั่วครู่ ผิวก็เริ่มแดงแล้ว ? ผมจะอธิบายให้ฟังครับ
ผิวจะได้รับผลเสียจากแดดมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยครับ ได้แก่
1. สีผิวของแต่ละคน
ผิวแต่ละสี จะได้รับผลเสียจากแดดไม่เท่ากันครับ คนผิวสีอ่อน มีเม็ดสีเมลานินที่คอยทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV น้อย เมื่อโดนแดดจึงไหม้ง่ายกว่าคนผิวสีเข้มที่มีเม็ดสีเมลานินเยอะกว่าครับ
2. ช่วงเวลาของวัน
ความแรงของแดดแต่ละช่วงเวลาของวันนั้น จะมีความแตกต่างกันครับ ซึ่งสามารถดูได้จากค่าที่เรียกว่า UV index ยิ่งค่า UV Index มาก ก็แสดงว่าแดดตอนนั้นยิ่งแรงมากครับ สำหรับแดดตอนเช้า จะเป็นช่วงที่มี UV Index ต่ำ ส่วนแดดตอนเที่ยง จะเป็นช่วงที่มี UV index สูง เนื่องจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก แดดจึงส่องมายังพื้นโลกตรง ๆ (เช็กค่า UV index ประเทศไทยได้ที่ศูนย์โอโซนและรังสี กองบริการดิจิทัลอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา http://ozone.tmd.go.th/UV_index.htm)
ดังนั้น ตากแดดตอนเที่ยง ผิวจะไหม้เร็วกว่าแดดตอนเช้าครับ
3. ระยะเวลาที่ตากแดด
ระยะเวลาที่ตากแดด สัมพันธ์กับพลังงานที่เราจะได้รับจากแดดครับ พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งตากแดดนาน ผิวก็จะยิ่งได้รับผลเสียจากแดดมากขึ้น หรือไหม้แดดมากขึ้นนั่นเองครับ
4. ตำแหน่งที่ตั้ง
แต่ละตำแหน่งบนโลก จะได้รับปริมาณรังสีที่แตกต่างกันออกไปครับ โดยพื้นที่ยิ่งอยู่ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร จะยิ่งได้รับปริมาณรังสีมากกว่าขั้วโลกทั้งสองด้านครับ

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่าปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อผิวอย่างไร ผมจะขอใช้ภาพด้านบนประกอบการอธิบาย ดังนี้ครับ
- – จากภาพฝั่งซ้าย จะเห็นว่าที่แดดแรงเท่ากัน คนผิวสีอ่อนโดนแดดแค่ 15 นาที ผิวก็จะเริ่มไหม้แดดแล้ว ในขณะที่คนผิวสีเข้ม จะต้องโดนแดดนานถึง 25 นาทีผิวจึงจะเริ่มไหม้
- – ส่วนจากภาพฝั่งขวา จะเห็นว่า ไม่ว่าจะผิวสีใด ยิ่งเจอแดดแรง ผิวก็จะยิ่งไหม้แดดเร็วครับ ตัวอย่างเช่น หากเรายืนตากแดด เปรียบเทียบกันระหว่างตอนเช้ากับตอนเที่ยง ตากแดดตอนเที่ยง ผิวจะไหม้เร็วกว่าแดดตอนเช้าครับ หรืออีกกรณีหนึ่ง หากเรายืนตากแดดที่กรุงเทพ เทียบกับยืนตากแดดที่ขั้วโลก ตากแดดที่กรุงเทพ ผิวจะไหม้เร็วกว่าตากแดดที่ขั้วโลกครับ

วิธีลดผลกระทบจากแดด สามารถทำได้หลากหลายวิธีครับ ซึ่งการทา “ครีมกันแดด” ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบจากแดด หรือรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งครับ
หลายท่านคงจะเคยเห็นคำว่า SPF กับ PA บนขวดหรือหลอดกันแดดกันอยู่แล้วใช่ไหมครับ แล้วทราบไหมครับว่าความหมายจริง ๆ อย่างละเอียดหมายความว่าอย่างไร ? วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับ
..
..
SPF และ PA เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพของครีมกันแดด โดยที่
- SPF (ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor) เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ซึ่งมีผลเสียทำให้ผิวไหม้ แสบ แดง
- PA (ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA) เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ซึ่งมีผลเสียทำให้ผิวคล้ำ หย่อนคล้อยและเกิดริ้วรอยก่อนวัยครับ
นอกจากคำว่า SPF กับ PA แล้ว ยังมีอีก 1 คำที่เรามักจะเห็นบนกันแดด นั่นก็คือคำว่า ‘Broad Spectrum’ ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB นั่นเองครับ

แล้วตัวเลขหลัง SPF กับเครื่องหมายบวกหลัง PA แปลความได้อย่างไร ?
..
..
ตัวเลขหลัง SPF บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ว่าป้องกันได้เท่าไหร่ครับ ผมขอยกตัวอย่างวิธีการแปลความตัวเลขเหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้ครับ
- – เมื่อเราทากันแดด SPF 30 นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVB ที่ไม่ถูกป้องกันโดยกันแดด และเล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเรา 1/30 ส่วน หรือพูดในทางกลับกันคือ ครีมกันแดดนั้นสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 29/30 ส่วน หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ประมาณ 97% นั่นเองครับ
- – ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราทากันแดด SPF 50 นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVB เล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเรา 1/50 ส่วน หรือหมายความว่า ครีมกันแดดนั้นสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 49/50 ส่วน หรือประมาณ 98% ครับ
ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SFP 50 และ SPF 30 นั้น มีประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UVB ต่างจาก เพียงแค่ 1% เท่านั้นเองครับ !!!

ส่วนเครื่องหมายบวกหลัง PA นั้น บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ว่าป้องกันได้เท่าไหร่ครับ ยิ่งบวกมากก็ยิ่งป้องกันได้มาก โดยที่จำนวนเครื่องหมายบวก สามารถแปลงเป็นตัวเลขค่าการปกป้องได้ ดังตารางในภาพด้านบนครับ ตัวอย่างเช่น
- เมื่อเราทากันแดดที่มีค่า PA +++ นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVA เล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเราไม่เกิน 1/8 ส่วน หรือพูดในทางกลับกันคือ ครีมกันแดดนี้สามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างน้อย 7/8 ส่วน หรือประมาณ 88% นั่นเองครับ
- ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราทากันแดดที่มีค่า PA ++++ ณ ตอนนั้น จะมีรังสี UVA ยังเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังของเราได้ไม่เกิน 1/16 ส่วน หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ครีมกันแดดนี้สามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างน้อย 15/16 ส่วน หรือประมาณ 94%
ซึ่งสำหรับค่า PA นั้น จะสังเกตเห็นได้ว่า PA+++ มีประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UVA ต่างจาก PA++++ ราว 6% เลยทีเดียวครับ

ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ ดังนี้ครับ
สมมติให้ผิวของนาย A จะเริ่มไหม้แดด เมื่อได้รับรังสี UV ครบ 100 ก้อนนะครับ และแดดที่นาย A ตากอยู่ตอนนั้น ก็มีความแรง 10 ก้อน/นาที
กรณีที่ 1 ถ้านาย A ไม่ได้ทากันแดด
- – ผ่านไป 1 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 ก้อน และนาย A ก็จะได้รับรังสี 10 ก้อนนั้น ซึ่งยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้
- – และเมื่อครบ 10 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 x 10 = 100 ก้อน และนาย A จะได้รับรังสีครบ 100 ก้อน ซึ่งทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดงครับ
กรณีที่ 2 ถ้านาย A ทากันแดด SPF 10
- – ผ่านไป 1 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 ก้อน โดยที่ครีมกันแดดที่นาย A ทาอยู่จะช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 10 = 9 ก้อน และเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวของนาย A 1/10 x 10 = 1 ก้อน ซึ่งยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้
- – เมื่อผ่านไป 10 นาที จะมีรังสีตกลงมาทั้งหมด 10 x 10 = 100 ก้อน ครีมกันแดดช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 100 = 90 ก้อน และเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวนายของ A 1/10 x 100 = 10 ก้อน ซึ่งก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้เช่นกัน
- – แต่เมื่อเวลาผ่านไปครบ 100 นาที รังสีสะสมที่ตกลงมาสู่ผิวของนาย A คือ 10 x 100 = 1,000 ก้อน ครีมกันแดดช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 1,000 = 900 ก้อน แต่ยังมีบางส่วนที่ผ่านสู่ผิวของนาย A คิดเป็น 1/10 x 1,000 = 100 ก้อน ซึ่งมากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดงนั่นเองครับ
จากทั้ง 2 กรณีนี้ จะเห็นว่าการทากันแดดที่มีค่า SPF 10 นั้น ช่วยให้ผิวของนาย A ไหม้แดดช้าลง จากเดิม 10 นาที เป็น 100 นาที หรือพูดได้ว่ากันแดดนี้ช่วยปกป้องผิวของนาย A จากการไหม้แดดได้นานขึ้น 10 เท่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวอย่างสมมตินี้อยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ความแรงของแดดทั้งสองกรณีเท่ากันตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงนั้น ความแรงของแดดไม่ได้คงที่
ตลอดเวลาครับ มีทั้งสูงขึ้นและต่ำลง ทำให้ความเป็นจริง ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 10 อาจป้องกันได้นานกว่า หรือสั้นกว่า 10 เท่า ก็เป็นไปได้ แล้วแต่สถานการณ์ครับ

การได้รับรังสี UV จากแสงแดดมากเกินไป ส่งผลเสียทำให้ผิวไหม้ แสบ แดง คล้ำเสีย หย่อนคล้อย และก่อให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้ผิวถูกรังสี UV ทำร้าย ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV นะครับ
และในโอกาสนี้ ผมขออนุญาตประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจาก AMT นั่นก็คือ
“AMT Anti-aging & Moisturizing UV Defensive Skincare”
สกินแคร์กันแดดที่ช่วยปกป้องผิวคุณให้ปลอดภัยจากทั้งรังสี UVA และ UVB ครับ
รายละเอียด และคุณสมบัติจะเป็นอย่างไร ฝากติดตามใน The Skincare Handbook ตอนที่ 35 ความรู้เรื่องกันแดดฉบับสมบูรณ์ บทที่ 2/3 และ 3/3 ด้วยนะครับ
สงกรานต์นี้จะไม่แพ้แดดอีกต่อไป เตรียมเปิดจองเร็ว ๆ นี้ พร้อมโปรโมชั่นเปิดตัวสุดพิเศษ ท่านใดที่สนใจสามารถ เพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดี ๆ ได้ที่ LINE : @amtskincare (หรือคลิก https://bit.ly/3av6XCr) ครับ ขอบพระคุณครับสำหรับการสนับสนุนและการติดตามเสมอมา
ติดตามเราได้ที่

สวัสดีทุกท่านครับ ห่างหายไปนานกับ The Skincare Handbook คอนเทนต์ให้ความรู้เรื่องผิวและสกินแคร์จาก AMT วันนี้ The Skincare Handbook กลับมาพร้อมกับตอนที่ 34 ในหัวข้อ “ความรู้เรื่องกันแดดฉบับสมบูรณ์” ครับ และด้วยความที่เป็นฉบับสมบูรณ์ ดังนั้น เนื้อหาจะค่อนข้างยาวนิดนึงครับ ผมจึงแบ่งออกเป็น 3 บทย่อย โดยบทที่ 1/3 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่ออันตรายจากแสงแดด และความหมายของค่า SPF กับ PA รายละเอียดอ่านต่อใต้ภาพได้เลยครับ

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมแต่ละคนจึงเริ่มได้รับผลเสียจากแดดไม่เท่ากัน ? ทำไมคนผิวสีอ่อนจึงไหม้แดดเร็วกว่าคนผิวสีเข้ม ? หรือ ทำไมเดินออกไปข้างนอกตอนกลางวันแค่ชั่วครู่ ผิวก็เริ่มแดงแล้ว ? ผมจะอธิบายให้ฟังครับ
ผิวจะได้รับผลเสียจากแดดมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยครับ ได้แก่
1. สีผิวของแต่ละคน
ผิวแต่ละสี จะได้รับผลเสียจากแดดไม่เท่ากันครับ คนผิวสีอ่อน มีเม็ดสีเมลานินที่คอยทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV น้อย เมื่อโดนแดดจึงไหม้ง่ายกว่าคนผิวสีเข้มที่มีเม็ดสีเมลานินเยอะกว่าครับ
2. ช่วงเวลาของวัน
ความแรงของแดดแต่ละช่วงเวลาของวันนั้น จะมีความแตกต่างกันครับ ซึ่งสามารถดูได้จากค่าที่เรียกว่า UV index ยิ่งค่า UV Index มาก ก็แสดงว่าแดดตอนนั้นยิ่งแรงมากครับ สำหรับแดดตอนเช้า จะเป็นช่วงที่มี UV Index ต่ำ ส่วนแดดตอนเที่ยง จะเป็นช่วงที่มี UV index สูง เนื่องจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก แดดจึงส่องมายังพื้นโลกตรง ๆ (เช็กค่า UV index ประเทศไทยได้ที่ศูนย์โอโซนและรังสี กองบริการดิจิทัลอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา http://ozone.tmd.go.th/UV_index.htm)
ดังนั้น ตากแดดตอนเที่ยง ผิวจะไหม้เร็วกว่าแดดตอนเช้าครับ
3. ระยะเวลาที่ตากแดด
ระยะเวลาที่ตากแดด สัมพันธ์กับพลังงานที่เราจะได้รับจากแดดครับ พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งตากแดดนาน ผิวก็จะยิ่งได้รับผลเสียจากแดดมากขึ้น หรือไหม้แดดมากขึ้นนั่นเองครับ
4. ตำแหน่งที่ตั้ง
แต่ละตำแหน่งบนโลก จะได้รับปริมาณรังสีที่แตกต่างกันออกไปครับ โดยพื้นที่ยิ่งอยู่ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร จะยิ่งได้รับปริมาณรังสีมากกว่าขั้วโลกทั้งสองด้านครับ

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่าปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลเสียต่อผิวอย่างไร ผมจะขอใช้ภาพด้านบนประกอบการอธิบาย ดังนี้ครับ
- – จากภาพฝั่งซ้าย จะเห็นว่าที่แดดแรงเท่ากัน คนผิวสีอ่อนโดนแดดแค่ 15 นาที ผิวก็จะเริ่มไหม้แดดแล้ว ในขณะที่คนผิวสีเข้ม จะต้องโดนแดดนานถึง 25 นาทีผิวจึงจะเริ่มไหม้
- – ส่วนจากภาพฝั่งขวา จะเห็นว่า ไม่ว่าจะผิวสีใด ยิ่งเจอแดดแรง ผิวก็จะยิ่งไหม้แดดเร็วครับ ตัวอย่างเช่น หากเรายืนตากแดด เปรียบเทียบกันระหว่างตอนเช้ากับตอนเที่ยง ตากแดดตอนเที่ยง ผิวจะไหม้เร็วกว่าแดดตอนเช้าครับ หรืออีกกรณีหนึ่ง หากเรายืนตากแดดที่กรุงเทพ เทียบกับยืนตากแดดที่ขั้วโลก ตากแดดที่กรุงเทพ ผิวจะไหม้เร็วกว่าตากแดดที่ขั้วโลกครับ

วิธีลดผลกระทบจากแดด สามารถทำได้หลากหลายวิธีครับ ซึ่งการทา “ครีมกันแดด” ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบจากแดด หรือรังสี UV ได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งครับ
หลายท่านคงจะเคยเห็นคำว่า SPF กับ PA บนขวดหรือหลอดกันแดดกันอยู่แล้วใช่ไหมครับ แล้วทราบไหมครับว่าความหมายจริง ๆ อย่างละเอียดหมายความว่าอย่างไร ? วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังครับ
..
..
SPF และ PA เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพของครีมกันแดด โดยที่
- SPF (ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor) เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ซึ่งมีผลเสียทำให้ผิวไหม้ แสบ แดง
- PA (ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA) เป็นค่าที่แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ซึ่งมีผลเสียทำให้ผิวคล้ำ หย่อนคล้อยและเกิดริ้วรอยก่อนวัยครับ
นอกจากคำว่า SPF กับ PA แล้ว ยังมีอีก 1 คำที่เรามักจะเห็นบนกันแดด นั่นก็คือคำว่า ‘Broad Spectrum’ ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB นั่นเองครับ

แล้วตัวเลขหลัง SPF กับเครื่องหมายบวกหลัง PA แปลความได้อย่างไร ?
..
..
ตัวเลขหลัง SPF บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB ว่าป้องกันได้เท่าไหร่ครับ ผมขอยกตัวอย่างวิธีการแปลความตัวเลขเหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้ครับ
- – เมื่อเราทากันแดด SPF 30 นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVB ที่ไม่ถูกป้องกันโดยกันแดด และเล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเรา 1/30 ส่วน หรือพูดในทางกลับกันคือ ครีมกันแดดนั้นสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 29/30 ส่วน หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ประมาณ 97% นั่นเองครับ
- – ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราทากันแดด SPF 50 นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVB เล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเรา 1/50 ส่วน หรือหมายความว่า ครีมกันแดดนั้นสามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 49/50 ส่วน หรือประมาณ 98% ครับ
ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SFP 50 และ SPF 30 นั้น มีประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UVB ต่างจาก เพียงแค่ 1% เท่านั้นเองครับ !!!

ส่วนเครื่องหมายบวกหลัง PA นั้น บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ว่าป้องกันได้เท่าไหร่ครับ ยิ่งบวกมากก็ยิ่งป้องกันได้มาก โดยที่จำนวนเครื่องหมายบวก สามารถแปลงเป็นตัวเลขค่าการปกป้องได้ ดังตารางในภาพด้านบนครับ ตัวอย่างเช่น
- เมื่อเราทากันแดดที่มีค่า PA +++ นั่นหมายความว่า จะมีรังสี UVA เล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังเราไม่เกิน 1/8 ส่วน หรือพูดในทางกลับกันคือ ครีมกันแดดนี้สามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างน้อย 7/8 ส่วน หรือประมาณ 88% นั่นเองครับ
- ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราทากันแดดที่มีค่า PA ++++ ณ ตอนนั้น จะมีรังสี UVA ยังเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวหนังของเราได้ไม่เกิน 1/16 ส่วน หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ครีมกันแดดนี้สามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างน้อย 15/16 ส่วน หรือประมาณ 94%
ซึ่งสำหรับค่า PA นั้น จะสังเกตเห็นได้ว่า PA+++ มีประสิทธิภาพในการปกป้องรังสี UVA ต่างจาก PA++++ ราว 6% เลยทีเดียวครับ

ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ ดังนี้ครั
สมมติให้ผิวของนาย A จะเริ่มไหม้แดด เมื่อได้รับรังสี UV ครบ 100 ก้อนนะครับ และแดดที่นาย A ตากอยู่ตอนนั้น ก็มีความแรง 10 ก้อน/นาที
กรณีที่ 1 ถ้านาย A ไม่ได้ทากันแดด
- – ผ่านไป 1 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 ก้อน และนาย A ก็จะได้รับรังสี 10 ก้อนนั้น ซึ่งยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้
- – และเมื่อครบ 10 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 x 10 = 100 ก้อน และนาย A จะได้รับรังสีครบ 100 ก้อน ซึ่งทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดงครับ
กรณีที่ 2 ถ้านาย A ทากันแดด SPF 10
- – ผ่านไป 1 นาที จะมีรังสีตกลงมา 10 ก้อน โดยที่ครีมกันแดดที่นาย A ทาอยู่จะช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 10 = 9 ก้อน และเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวของนาย A 1/10 x 10 = 1 ก้อน ซึ่งยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้
- – เมื่อผ่านไป 10 นาที จะมีรังสีตกลงมาทั้งหมด 10 x 10 = 100 ก้อน ครีมกันแดดช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 100 = 90 ก้อน และเหลือเล็ดลอดผ่านสู่ผิวนายของ A 1/10 x 100 = 10 ก้อน ซึ่งก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดดได้เช่นกัน
- – แต่เมื่อเวลาผ่านไปครบ 100 นาที รังสีสะสมที่ตกลงมาสู่ผิวของนาย A คือ 10 x 100 = 1,000 ก้อน ครีมกันแดดช่วยป้องกันไว้ได้ 9/10 x 1,000 = 900 ก้อน แต่ยังมีบางส่วนที่ผ่านสู่ผิวของนาย A คิดเป็น 1/10 x 1,000 = 100 ก้อน ซึ่งมากพอที่จะทำให้ผิวของนาย A เริ่มไหม้แดงนั่นเองครับ
จากทั้ง 2 กรณีนี้ จะเห็นว่าการทากันแดดที่มีค่า SPF 10 นั้น ช่วยให้ผิวของนาย A ไหม้แดดช้าลง จากเดิม 10 นาที เป็น 100 นาที หรือพูดได้ว่ากันแดดนี้ช่วยปกป้องผิวของนาย A จากการไหม้แดดได้นานขึ้น 10 เท่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวอย่างสมมตินี้อยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ความแรงของแดดทั้งสองกรณีเท่ากันตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงนั้น ความแรงของแดดไม่ได้คงที่
ตลอดเวลาครับ มีทั้งสูงขึ้นและต่ำลง ทำให้ความเป็นจริง ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 10 อาจป้องกันได้นานกว่า หรือสั้นกว่า 10 เท่า ก็เป็นไปได้ แล้วแต่สถานการณ์ครับ

การได้รับรังสี UV จากแสงแดดมากเกินไป ส่งผลเสียทำให้ผิวไหม้ แสบ แดง คล้ำเสีย หย่อนคล้อย และก่อให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้ผิวถูกรังสี UV ทำร้าย ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV นะครับ
และในโอกาสนี้ ผมขออนุญาตประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจาก AMT นั่นก็คือ
“AMT Anti-aging & Moisturizing UV Defensive Skincare”
สกินแคร์กันแดดที่ช่วยปกป้องผิวคุณให้ปลอดภัยจากทั้งรังสี UVA และ UVB ครับ
รายละเอียด และคุณสมบัติจะเป็นอย่างไร ฝากติดตามใน The Skincare Handbook ตอนที่ 35 ความรู้เรื่องกันแดดฉบับสมบูรณ์ บทที่ 2/3 และ 3/3 ด้วยนะครับ
สงกรานต์นี้จะไม่แพ้แดดอีกต่อไป เตรียมเปิดจองเร็ว ๆ นี้ พร้อมโปรโมชั่นเปิดตัวสุดพิเศษ ท่านใดที่สนใจสามารถ เพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดี ๆ ได้ที่ LINE : @amtskincare (หรือคลิก https://bit.ly/3av6XCr) ครับ ขอบพระคุณครับสำหรับการสนับสนุนและการติดตามเสมอมา
ติดตามเราได้ที่