
“การล้างหน้า เป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ในการดูแลผิวครับ เป็นขั้นตอนที่คนมักมองข้าม และเป็นขั้นตอนที่หลาย ๆ ท่านยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ผมอยากขอให้ทุก ๆ ท่านลองสละเวลาอันมีค่าประมาณ 3 นาที อ่านคอนเทนต์นี้แล้วลองปรับใช้ และปฏิบัติตามดูครับ และท่านจะพบว่าสุขภาพผิวหน้าของท่านจะดีขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อเลยทีเดียวครับ”

ก่อนจะไปเรื่องผลิตภัณฑ์สำหรับล้างหน้า และวิธีล้างหน้า รู้หรือไม่ครับ ? ตกเย็นกลับถึงบ้าน ใบหน้าเรามีสิ่งสกปรกอะไรบ้าง ?
เราสามารถแบ่งสิ่งสกปรกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้ดังนี้ครับ
กลุ่มแรก : สิ่งสกปรกที่ผิวสร้างขึ้นมาเอง ได้แก่
- เหงื่อ
- น้ำลาย (ใช่ครับ เวลาเราพูด หน้าเราเลอะละอองน้ำลายครับ)
- ไขมันที่ต่อมไขมันผลิตออกมา
- เศษเซลล์ผิวเก่าที่หมดสภาพ แต่ไม่ยอมหลุดออกไปเป็นขี้ไคล
ส่วนกลุ่มที่สอง : สิ่งสกปรกที่เกิดจากภายนอก ได้แก่
- สกินแคร์ที่เราทาลงไป (ใช่แล้วครับ สารในสกินแคร์ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมัน เมื่อสัมผัสโดนอากาศ ความร้อน แสงแดด ก็จะมีเปลี่ยนสภาพเป็นของเสียได้ครับ)
- ครัมกันแดด
- รองพื้น เมคอัพ
- ฝุ่นหยาบ เส้นใยผ้า เส้นใยกระดาษ
- ฝุ่นละเอียด อาทิเช่น ฝุ่น PM10 PM2.5 ซึ่งประกอบไปด้วย โลหะหนัก สารก่อมะเร็ง และก๊าซพิษหลายหลายชนิด
เห็นอย่างนี้แล้ว ไม่น่าแปลกใจเลยใช่มั้ยครับว่าทำไม ผมถึงเกริ่นไว้ในตอนต้นว่า “การล้างหน้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ในการดูแลผิว”

ทีนี้ถ้าเราแบ่งสิ่งสกปรกเหล่านี้ใหม่เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ล้างออกง่าย และกลุ่มที่ล้างออกยาก เราจะแบ่งได้เป็นดังนี้ครับ
กลุ่มที่ล้างออกง่าย ได้แก่ เหงื่อ, น้ำลาย, ผิวเก่า, ฝุ่นหยาบ, สกินแคร์ที่ทาไว้
สิ่งสกปรกเหล่านี้จะละลายไปกับน้ำได้ง่าย หรือไม่ก็มีขนาดที่ใหญ่ ในทางปฏิบัติ แค่ใช้น้ำเปล่าชะล้าง ก็ออกไปเกือบหมดแล้วครับ
ส่วนกลุ่มที่ล้างออกยาก ได้แก่ ไขมันที่ต่อมไขมันผลิตออกมา, กันแดด, รองพื้น, ฝุ่นละเอียด PM10 PM2.5 ซึ่งกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายก็คือ
- เป็นสิ่งสกปรกที่ละลายไปกับน้ำได้ยาก หรือ
- เป็นสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กมาก
- หรือมีทั้งสองข้อรวมกัน
สิ่งสกปรกกลุ่มนี้แหละครับที่จะสร้างปัญหา หากเราไม่สามารถล้างมันออกไปได้อย่างถูกวิธี

หากเราแบ่ง กลไกในการล้างเอาสิ่งสกปรกที่ล้างออกยากออกจากผิว จะแบ่งได้เป็น 2 กลไกครับ
กลไกที่ 1 ใช้แรงขัดถู (Rubbing) อยากให้ทุกท่านลองนึกตามดูนะครับ สมมติเวลาเสื้อเราเปื้อนซอส โดยธรรมชาติ เราก็จะยื่นมือไปหยิบกระดาษทิชชู่ แล้วก็เช็ดมันออกไป ถ้ายังไม่ออก เราก็คงเปลี่ยนแผ่นทิชชู่แผ่นใหม่มาเช็ดซ้ำ เช็ด ๆ ถู ๆ ถูจนไม่ทิชชู่ยุ่ย เส้นใยผ้าของเสื้อเราก็ยุ่ยแหละครับ แต่เนื่องจากคราบซอสมันมีทั้งสี มีไขมัน มันไม่ได้ออกง่าย ๆ ครับ เราก็จะมักจะเอาทิชชู่นั้นไปชุบน้ำ บางทีก็น้ำสบู่แล้วก็เช็ดถูดูใหม่ ซึ่งคราบซอสมันก็จะออกดีขึ้น แต่ต้องยอมรับครับว่าออกไม่หมด
กลไกที่ 2 ใช้การละลาย (Dissolving) สุดท้ายเราก็จะใช้ชีวิตกับเสื้อเปื้อนซอสนั้นจนถึงเย็นกลับบ้าน เราก็จะเอามันมาแช่น้ำยาอะไรซักอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาฟอกผ้าขาว น้ำส้มสายชู น้ำอะไรก็ตามที่เราเสิร์ชเจอในกูเกิล ทิ้งไว้ข้ามคืน ตื่นขึ้นมา เราก็จะพบว่า คราบซอสเหล่านั้นยังอยู่เหมือนเดิม !!!
ล้อเล่นครับ คราบซอสนั้น หายไปแล้วครับ แต่เสื้อเราก็เลอะน้ำยาฟอกผ้าขาวไปแล้ว เราก็ต้องมาซักเสื้อเราอีกรอบเพื่อล้างเอาน้ำยาที่หลงเหลืออยู่ออกไปครับ
(เรื่องซักผ้าเป็นงานถนัดของผมเลยครับ ผมเลยนอกเรื่องไปไกลนิดนึง 555)
แต่ที่จริงไม่ได้นอกเรื่องนะครับ

ภาพนี้เป็นภาพแสดงสิ่งที่เกิดเวลาเราล้างสิ่งสกปรกโดยกลไก Rubbing ครับ
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กลไกนี้ได้แก่ Cleansing Water , Cleansing Lotion, Micellar Water และอีกหลาย ๆ ชื่อ ที่เวลาใช้จะต้องหยดลงบนสำลีแล้วเช็ดครับ เหมาะกับสิ่งสกปรกที่ไม่ได้เยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น
สกินแคร์เช้า + กันแดดแบบไม่กันน้ำ + แป้งฝุ่น + ปัดแก้ม + เขียนคิ้ว + ลิปนิดหน่อย ไม่ลงรองพื้น ไม่ขอบตา ไม่มาสคาร่า
ให้เลือกสำลีที่นุ่มที่สุดเท่าที่จะหาได้ ชุบน้ำ Cleansing Lotion เยอะ ๆ เปลี่ยนสำลีบ่อย ๆ เพื่อลดการเสียดสีที่จะเกิดกับผิวให้เหลือน้อยที่สุด เพราะถ้าผิวเสียดสีนั่นหมายถึง Skin Barrier กำลังถูกทำลาย ผิวจะเสียน้ำ สิ่งแปลกปลอมจะเข้ามาจู่โจม และปัญหาอื่น ๆ จะตามมาเป็นหางว่าวเลยทีเดียวครับ

แต่ถ้าวันไหน
สกินแคร์เช้า + กันแดดแบบกันน้ำ + รองพื้นจัดเต็ม + แป้งฝุ่น + ปัดแก้ม + เขียนคิ้ว + เขียนขอบตาบนล่าง + ปัดมาสคาร่า + ลิปแมท
หรือที่จริงแค่สกินแคร์ + กันแดดแบบกันน้ำ
เราก็ไม่ควรใช้กลไก Rubbing แล้วครับ และควรเปลี่ยนการล้างหน้ามาใช้กลไก dissolving แทน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้กลไกนี้ได้แก่ Cleansing Gel , Cleansing Milk , Cleansing Cream หรือ Cleansing Oil ครับ
เมื่อพูดถึงการละลาย ข้อเท็จจริงมีอยู่ 3 ข้อ ก็คือ
1 ** ปริมาณน้ำมันยิ่งมาก ยิ่งละลายสิ่งสกปรกได้ดีปริมาณน้ำมันมากไปน้อย เรียงได้ดังนี้ครับ Oil > Cream > Milk > Gel
2 ** ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อยิ่งหนืด จะทำให้เวลาถูวนบนใบหน้า นิ้วมือไม่สัมผัสหน้าโดยตรง ลดการเสียดสีจากมือไปได้อีกความหนืดเรียงได้ดังนี้ครับ Cream > Milk = Gel > Oil
3 ** ยิ่งใช้ปริมาณเยอะ ยิ่งล้างออกได้หมดจดซึ่งจะสัมพันธ์กับข้อที่ 2 กล่าวคือ ถ้าผลิตภัณฑ์ยิ่งหนืด เราจะควักมันขึ้นมา และวางมันลงบนหน้าได้โดยที่มันจะไม่ไหลมาที่กราม ทำให้สามารถใช้ปริมาณเยอะได้ง่ายกว่า
ดังนั้นแล้ว เวลาหลาย ๆ ท่านมาถามผมว่าใช้อะไรล้างเมคอัพออกดี ผมจะแนะนำ Cleansing Cream เสมอครับ เพราะปริมาณน้ำมันเยอะ เนื้อหนืด ควักได้ ใช้เยอะ ๆ มาโปะที่หน้าแล้ววน ๆ ๆ รอบเดียวเมคอัพก็ละลายออกมา สะอาดหมดจด
แต่อย่าลืมว่า ข้อควรระวังคือ จะต้องใช้ Face Wash ล้างตามเสมอ 1-2 รอบเพื่อขจัดน้ำมันจาก Cleansing Cream ที่เหลืออยู่ออกไปครับ
แต่พอผมพูดแบบนี้ หลายท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า แบบนี้เราไม่ใช้ Rubbing แล้ว ใช้ Dissolving อย่างเดียวดีกว่า ที่จริงคือ เราต้องเลือกวิธีล้างให้เหมาะกับ “ระดับความล้างออกยากของสิ่งสกปรก” ครับ
เพราะหากเราใช้ Cleansing Cream มากเกินไป หรืออยากจะให้สะอาดหมดจด ล้างมัน 2-3 รอบ หรือวันไหนไม่ได้ออกจากบ้านไม่ได้เมคอัพ กันแดดไม่ได้กันน้ำ แต่เราก็ยังใช้ Cleansing Cream อีก แบบนี้ ไขมันดี ๆ ในผิวเราก็จะโดนล้างออกมาด้วย กลายเป็นว่าผิวยิ่งบอบบางครับ

สุดท้าย ไม่ว่าจะล้างหน้าด้วยวิธีใดก็ตาม ข้อควรระวัง อีกข้อ ก็คือ ทุกครั้งที่ล้างหน้า ไขมันดี ๆ ที่อยู่ใน Skin Barrier มันก็จะถูกล้างออกไปด้วยเสมอ ไม่มากก็น้อยครับ
ซึ่งไขมัน (Intercellular Lipid) เหล่านี้ ทำหน้าที่อุดช่องว่างระหว่างเซลล์ผิวเอาไว้ ทำให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ สารแปลกปลอมจากภายนอกจู่โจมได้ยาก ทำให้ผิวมีสุขภาพดีแข็งแรง
ดังนั้น หลังล้างหน้าทุกครั้ง ควรรีบบำรุงทันทีด้วย AMT Liposome Serum เพื่อรีบไปอุด Intercellular Lipid ให้มีสภาพที่แน่นหนาไม่เสียความชุ่มชื้นแต่ยังยอมให้สารอาหารผ่านได้ หรือที่เรียกว่า Tight but Permeable Skin Barrier นั่นเองครับ ส่วน Emulsion, Essence Mist หรือสกินแคร์อื่น ๆ ถ้ารีบไม่มีเวลา เดี๋ยวมาทาตามทีหลังก็ได้ครับ ผมก็ทำแบบนี้เหมือนกันครับบางที
รูทีนผมในวันรีบ ๆ ครับ ตอนเย็น กลับมาบ้านรีบล้างหน้า > ลงเซรั่ม > ไปกินข้าว เล่นกับลูก > จะนอนค่อยมาทา Emulsion > Mist > Night Cream ครับ
*** แต่ถ้ามีเวลา ทาต่อเนื่องกันไปดีแล้วนะครับ เพราะ Serum มันมี Boosting Effect ให้กับสกินแคร์ตัวถัด ๆ มา หากใช้ต่อเนื่องกันไปครับ ***
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ แก่ทุกท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ ลองปรับใช้ดูนะครับ มีข้อสงสัย สอบถาม คอมเมนท์มาได้เลยนะครับผม สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าครับ ดูแลรักษาสุขภาพ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ นะครับ
Tag : Beauty tips สิว ผิวระคายเคืองง่าย
#AMTSkincare #AMTfamily #AMTHandbook #YourSkinGuardian #skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่
https://linktr.ee/AMTSkincare