
The Skincare Handbook by AMT Skincare
คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์
ตอนที่ 12 ความรู้เรื่องน้ำมันพืชกับผิวพรรณ

น้ำมันที่ใช้ในสกินแคร์ สามารถแบ่งได้ 4 ชนิดตามแหล่งที่มาครับ ได้แก่ น้ำมันที่ได้จากพืช, จากสัตว์, จากปิโตรเลียม และจากการสังเคราะห์ครับ
น้ำมันที่ได้จากพืชนั้น มีชื่อเรียกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าได้มาจากส่วนไหนของพืชครับ
1. น้ำมันที่ได้จากผล หรือ เมล็ดพืช เราจะเรียกกันว่า น้ำมันพืช หรือ Vegetable Oil หรือ Edible Oil ครับ น้ำมันเหล่านี้ส่วนใหญ่รับประทานได้ครับ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง (ได้มาจากเมล็ดถั่วเหลือง) น้ำมันมะกอก (ได้มาจากผลมะกอก) เป็นต้นครับ สารที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมันเหล่านี้คือ “น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)” ซึ่งเป็นน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งในผิวคนเราครับ มีหน้าที่ทำให้ผิวมีความนุ่มเด้งแบบที่เรียกว่า Emollient ผิวไม่แห้งแข็งกระด้างครับ ใครชอบอบขนมปังก็คงคล้าย ๆ เวลาเราใส่น้ำมันหรือเนยลงไปทำให้เนื้อขนมปังมีความนุ่มนั่นเองครับ
2.น้ำมันที่ได้จากส่วนอื่น ๆ เช่น เปลือกผล ใบ เราจะเรียกกันว่า น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential Oil ครับ มีส่วนประกอบหลักเป็นสารในกลุ่ม Terpene น้ำมันเหล่านี้ส่วนมากรับประทานไม่ได้ แต่ให้กลิ่นหอม บางชนิดมีฤทธิ์ต้านอักเสบ รวมถึงฤทธิ์อื่น ๆ แต่น้ำมันหอมระเหยบางตัวก็ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายครับ โดยเฉพาะน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชตระกูลส้มครับ

น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?
น้ำมันกลีเซอไรด์จัดเป็นน้ำมันชนิด Inner Oil นั่นคือเมื่อเวลาเราทาลงไปบนผิวจะสามารถซึมเข้าไปให้ความนุ่มเด้งแก่ผิวได้ดี โครงสร้างทางเคมีของน้ำมันนี้ประกอบด้วยส่วนหัวที่เรียกว่า Glycerin และส่วนหางซึ่งเรียกว่า กรดไขมัน โดยมีหางทั้งหมด 3 หาง จึงเป็นที่มาของชื่อ “TRI” Glyceride นั่นเองครับ

สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติในการซึมผ่านของน้ำมันไตรกลีเซอไรด์ก็คือ “ชนิดของกรดไขมัน” ที่มาเป็นองค์ประกอบครับ กรดไขมันมีทั้งที่เป็นสายยาว ๆ และสายสั้น ๆ มีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (สายตรง) และไม่อิ่มตัว (สายงอ) ครับ
หรือถ้าพูดใหม่ก็คือ “น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันต่างชนิดกัน ก็จะมีคุณสมบัติในการซึมผ่านเข้าไปทำให้ผิวนุ่มได้ต่างกันนั่นเองครับ”

กรดไขมันแต่ละชนิดมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำมันกลีเซอไรด์อย่างไร
1. กรดไขมันสายตรงยาว (Saturated Long Chain Fatty Acid) จะส่งผลให้น้ำมันกลีเซอไรด์นั้น ๆ มีความข้นหนืด (Rich) ซึมไม่ดี เหนียวเหนอะหนะ แต่ไม่ได้แย่เสมอไปครับ เพราะจะช่วยปกคลุมผิวป้องกันการสูญเสียน้ำได้ดีครับ
2.กรดไขมันสายตรงสั้น (Saturated Medium-to-short Chain Fatty Acid) จะส่งผลให้น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้เนื้อเบา ซึมดี แห้งไว แต่ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีนะครับ เพราะซึมดีไปบางครั้งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองจากกลไกที่ซึมไปละลายไขมันในชั้นผิวออกมา ทำให้ Skin Barrier เกิดช่องว่างได้นั่นเองครับ
3.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid) เนื้อสัมผัสจะไม่เบาหรือข้นจนเกินไป ซึมได้ดีเนื่องจากสายงอได้ บิดตัวไปมาได้ระหว่างแทรกลงไปในชั้นผิว ทำให้ผิวมีความนุ่มเด้ง แต่มีข้อควรระวังคือ น้ำมันเหล่านี้เหม็นหืนได้ง่ายมากครับ

ตารางนี้เป็นตารางที่สรุปให้ดูคร่าว ๆ ครับว่า น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากพืชแต่ละชนิดประกอบไปด้วยกรดไขมันชนิดไหนบ้าง และมีปริมาณร้อยละเท่าไหร่ครับ
ยกตัวอย่างเช่น กรดไขมันปาล์มมิติก (Palmitic Acid) เป็นกรดไขมันสายยาวปานกลาง เป็นกรดไขมันอิ่มตัว (สายตรง) พบเป็นองค์ประกอบในน้ำมันจากเมล็ดอโวคาโดประมาณ 18% เป็นต้นครับ
หรือเราอาจจะดูตารางโดยเริ่มจากน้ำมันพืชที่เราสนใจครับ เช่น น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากน้ำมันมะกอก ประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวชนิด Palmitic 10% ไม่อิ่มตัวชนิด Oleic 80% ไม่อิ่มตัวชนิด Linoleic 10% เป็นต้นครับ

จะพูดอะไรในคอนเทนต์นี้
ใช่แล้วครับ
ที่เกริ่นมาทั้งหมด ผมอยากจะบอกว่า Macadamia Seed Oil มันดีมากเลยครับ
น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากเมล็ดของถั่วแมคคาเดเมีย มีกรดไขมันชนิด Palmitoleic ซึ่งแทบไม่พบในพืชชนิดอื่นเลยครับ หรือถ้าพบก็พบเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในแมคคาเดเมียพบมากที่สุดครับ
โดยกรดไขมันชนิด Palmitoleic นี้มีความยาวของสายกำลังดี และมีความไม่อิ่มตัวที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้ผิวมีความนุ่มและแน่นเฟิร์มในเวลาเดียวกันครับ
แต่ไม่ใช่ว่า Macadamia ทุกแหล่งที่มา จะมีคุณสมบัติเหมือนกันเสมอไปครับ สายพันธุ์ แหล่งที่ปลูก เทคโนโลยีในการสกัดและทำให้บริสุทธิ์มีผลอย่างมากต่อคุณภาพของน้ำมันครับ
AMT Rejuvenating & Brightening Emulsion ทั้งสูตร Rich และ สูตร Light
ประกอบไปด้วย น้ำมันจากเมล็ดแมคคาเดเมียสายพันธุ์ Ternifolia ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เมล็ดมีขนาดเล็ก กินไม่อร่อยเพราะมีรสชาติขม แต่มีปริมาณกรดไขมันชนิด Palmitoleic สูงที่สุด เหมาะกับการเอามาทำสกินแคร์ครับ
นอกจากนี้เรายังเลือกน้ำมันแมคคาเดเมีย ที่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์สูง ความเป็นกรดต่ำ สีและกลิ่นไม่รุนแรง ทำให้สกินแคร์ของเราไม่จำเป็นต้องใส่น้ำหอมเพื่อกลบกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นหืนของน้ำมันครับ
—-
AMT Rejuvenating & Brightening Light Emulsion
และ AMT Rejuvenating & Brightening Rich Emulsion
อิมัลชันที่จะช่วยให้ผิวของคุณได้รับน้ำมันที่เหมาะสมกับผิวคุณจริง ๆ
สิ่งหนึ่งที่เป็นความเข้าใจผิดที่พบมากคือ
“ชั้นผิวมันอ่ะ ไม่อยากทาอะไรที่มีน้ำมัน”
อิมัลชันทั้ง 2 สูตรนี้จะบอกคุณว่าในสูตรมีอัตราส่วน Inner Oil : Surface Oil ในปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้คุณเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
#อย่ากลัวน้ำมันมากเกินไป
Tag : ปัญหาผิวมัน ปัญหาผิวแห้ง
#AMTSkincare #AMTfamily #YourSkinGuardian #Handbook #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่

The Skincare Handbook by AMT Skincare
คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์
ตอนที่ 12 ความรู้เรื่องน้ำมันพืชกับผิวพรรณ

น้ำมันที่ใช้ในสกินแคร์ สามารถแบ่งได้ 4 ชนิดตามแหล่งที่มาครับ ได้แก่ น้ำมันที่ได้จากพืช, จากสัตว์, จากปิโตรเลียม และจากการสังเคราะห์ครับ
น้ำมันที่ได้จากพืชนั้น มีชื่อเรียกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าได้มาจากส่วนไหนของพืชครับ
1. น้ำมันที่ได้จากผล หรือ เมล็ดพืช เราจะเรียกกันว่า น้ำมันพืช หรือ Vegetable Oil หรือ Edible Oil ครับ น้ำมันเหล่านี้ส่วนใหญ่รับประทานได้ครับ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง (ได้มาจากเมล็ดถั่วเหลือง) น้ำมันมะกอก (ได้มาจากผลมะกอก) เป็นต้นครับ สารที่เป็นองค์ประกอบในน้ำมันเหล่านี้คือ “น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)” ซึ่งเป็นน้ำมันที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งในผิวคนเราครับ มีหน้าที่ทำให้ผิวมีความนุ่มเด้งแบบที่เรียกว่า Emollient ผิวไม่แห้งแข็งกระด้างครับ ใครชอบอบขนมปังก็คงคล้าย ๆ เวลาเราใส่น้ำมันหรือเนยลงไปทำให้เนื้อขนมปังมีความนุ่มนั่นเองครับ
2.น้ำมันที่ได้จากส่วนอื่น ๆ เช่น เปลือกผล ใบ เราจะเรียกกันว่า น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential Oil ครับ มีส่วนประกอบหลักเป็นสารในกลุ่ม Terpene น้ำมันเหล่านี้ส่วนมากรับประทานไม่ได้ แต่ให้กลิ่นหอม บางชนิดมีฤทธิ์ต้านอักเสบ รวมถึงฤทธิ์อื่น ๆ แต่น้ำมันหอมระเหยบางตัวก็ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายครับ โดยเฉพาะน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืชตระกูลส้มครับ

น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร ?
น้ำมันกลีเซอไรด์จัดเป็นน้ำมันชนิด Inner Oil นั่นคือเมื่อเวลาเราทาลงไปบนผิวจะสามารถซึมเข้าไปให้ความนุ่มเด้งแก่ผิวได้ดี โครงสร้างทางเคมีของน้ำมันนี้ประกอบด้วยส่วนหัวที่เรียกว่า Glycerin และส่วนหางซึ่งเรียกว่า กรดไขมัน โดยมีหางทั้งหมด 3 หาง จึงเป็นที่มาของชื่อ “TRI” Glyceride นั่นเองครับ

สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติในการซึมผ่านของน้ำมันไตรกลีเซอไรด์ก็คือ “ชนิดของกรดไขมัน” ที่มาเป็นองค์ประกอบครับ กรดไขมันมีทั้งที่เป็นสายยาว ๆ และสายสั้น ๆ มีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (สายตรง) และไม่อิ่มตัว (สายงอ) ครับ
หรือถ้าพูดใหม่ก็คือ “น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันต่างชนิดกัน ก็จะมีคุณสมบัติในการซึมผ่านเข้าไปทำให้ผิวนุ่มได้ต่างกันนั่นเองครับ”

กรดไขมันแต่ละชนิดมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำมันกลีเซอไรด์อย่างไร
1. กรดไขมันสายตรงยาว (Saturated Long Chain Fatty Acid) จะส่งผลให้น้ำมันกลีเซอไรด์นั้น ๆ มีความข้นหนืด (Rich) ซึมไม่ดี เหนียวเหนอะหนะ แต่ไม่ได้แย่เสมอไปครับ เพราะจะช่วยปกคลุมผิวป้องกันการสูญเสียน้ำได้ดีครับ
2.กรดไขมันสายตรงสั้น (Saturated Medium-to-short Chain Fatty Acid) จะส่งผลให้น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้เนื้อเบา ซึมดี แห้งไว แต่ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีนะครับ เพราะซึมดีไปบางครั้งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองจากกลไกที่ซึมไปละลายไขมันในชั้นผิวออกมา ทำให้ Skin Barrier เกิดช่องว่างได้นั่นเองครับ
3.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid) เนื้อสัมผัสจะไม่เบาหรือข้นจนเกินไป ซึมได้ดีเนื่องจากสายงอได้ บิดตัวไปมาได้ระหว่างแทรกลงไปในชั้นผิว ทำให้ผิวมีความนุ่มเด้ง แต่มีข้อควรระวังคือ น้ำมันเหล่านี้เหม็นหืนได้ง่ายมากครับ

ตารางนี้เป็นตารางที่สรุปให้ดูคร่าว ๆ ครับว่า น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากพืชแต่ละชนิดประกอบไปด้วยกรดไขมันชนิดไหนบ้าง และมีปริมาณร้อยละเท่าไหร่ครับ
ยกตัวอย่างเช่น กรดไขมันปาล์มมิติก (Palmitic Acid) เป็นกรดไขมันสายยาวปานกลาง เป็นกรดไขมันอิ่มตัว (สายตรง) พบเป็นองค์ประกอบในน้ำมันจากเมล็ดอโวคาโดประมาณ 18% เป็นต้นครับ
หรือเราอาจจะดูตารางโดยเริ่มจากน้ำมันพืชที่เราสนใจครับ เช่น น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากน้ำมันมะกอก ประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวชนิด Palmitic 10% ไม่อิ่มตัวชนิด Oleic 80% ไม่อิ่มตัวชนิด Linoleic 10% เป็นต้นครับ

จะพูดอะไรในคอนเทนต์นี้
ใช่แล้วครับ
ที่เกริ่นมาทั้งหมด ผมอยากจะบอกว่า Macadamia Seed Oil มันดีมากเลยครับ
น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ที่ได้จากเมล็ดของถั่วแมคคาเดเมีย มีกรดไขมันชนิด Palmitoleic ซึ่งแทบไม่พบในพืชชนิดอื่นเลยครับ หรือถ้าพบก็พบเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในแมคคาเดเมียพบมากที่สุดครับ
โดยกรดไขมันชนิด Palmitoleic นี้มีความยาวของสายกำลังดี และมีความไม่อิ่มตัวที่พอเหมาะ จะช่วยทำให้ผิวมีความนุ่มและแน่นเฟิร์มในเวลาเดียวกันครับ
แต่ไม่ใช่ว่า Macadamia ทุกแหล่งที่มา จะมีคุณสมบัติเหมือนกันเสมอไปครับ สายพันธุ์ แหล่งที่ปลูก เทคโนโลยีในการสกัดและทำให้บริสุทธิ์มีผลอย่างมากต่อคุณภาพของน้ำมันครับ
AMT Rejuvenating & Brightening Emulsion ทั้งสูตร Rich และ สูตร Light
ประกอบไปด้วย น้ำมันจากเมล็ดแมคคาเดเมียสายพันธุ์ Ternifolia ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เมล็ดมีขนาดเล็ก กินไม่อร่อยเพราะมีรสชาติขม แต่มีปริมาณกรดไขมันชนิด Palmitoleic สูงที่สุด เหมาะกับการเอามาทำสกินแคร์ครับ
นอกจากนี้เรายังเลือกน้ำมันแมคคาเดเมีย ที่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์สูง ความเป็นกรดต่ำ สีและกลิ่นไม่รุนแรง ทำให้สกินแคร์ของเราไม่จำเป็นต้องใส่น้ำหอมเพื่อกลบกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เข่นกลิ่นหืนของน้ำมันครับ
—-
AMT Rejuvenating & Brightening Light Emulsion
และ AMT Rejuvenating & Brightening Rich Emulsion
อิมัลชันที่จะช่วยให้ผิวของคุณได้รับน้ำมันที่เหมาะสมกับผิวคุณจริง ๆ
สิ่งหนึ่งที่เป็นความเข้าใจผิดที่พบมากคือ
“ชั้นผิวมันอ่ะ ไม่อยากทาอะไรที่มีน้ำมัน”
อิมัลชันทั้ง 2 สูตรนี้จะบอกคุณว่าในสูตรมีอัตราส่วน Inner Oil : Surface Oil ในปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้คุณเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
#อย่ากลัวน้ำมันมากเกินไป
Tag : ปัญหาผิวมัน ปัญหาผิวแห้ง
#AMTSkincare #AMTfamily #YourSkinGuardian #Handbook #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่