เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

Handbook 8 แพ้ ระคายเคือง อุดตัน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

24/03/2022

แชร์บทความนี้

The Skincare Handbook by AMT Skincare

คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์

ตอนที่ 8 “แพ้” “ระคายเคือง” “(ทำให้) อุดตัน” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

แพ้ (Allergy)

เป็นกระบวนการตอบสนองของผิวต่อสารใดสารหนึ่งที่คาดว่าจะมีอันตราย (บางทีสารนั้นไม่ได้มีอันตรายจริง ๆ หรอกครับ ผิวเราบางทีก็เข้าใจผิดไปเอง)

 

โดยสารนั้น ๆ ผิว “ต้องเคยเจอ” มาก่อนแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และพอเจออีกครั้งเป็นครั้งที่สอง ผิวก็จะตอบสนองออกมาโดยมีอาการที่สำคัญคือ “แดง บวม คัน ลอก” โดยอาการนี้อาจจะเกิดในตำแหน่งที่สัมผัสกับสารก่อแพ้ หรือ บางทีก็เกิดในตำแหน่งอื่นได้ครับ

 

ยกตัวอย่างคล้าย ๆ กับการแพ้อาหาร เช่น คนแพ้กุ้ง กินกุ้งเข้าไป บางคนก็มีอาการแดง, คันรอบบริเวณปาก บางคนก็คันทั้งตัว หรือบางคนที่มีอาการมาก อาจจะเกิดการบวมของผนังทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัดได้ เป็นต้นครับ

 

ระยะเวลาในการเกิดการแพ้ หลังจากผิวเจอสารก่อแพ้เข้าไป อาจจะเกิดทันที หรืออาจจะเกิดช้าออกไปเป็นสัปดาห์ก็ได้ครับ เช่น ทาครีมวันนี้ไปแพ้เอาอาทิตย์หน้า แบบนี้ก็มีครับ

 

สารที่เป็นต้นเหตุของการแพ้นั้น “เป็นไปได้ทุกตัว” ครับ การจะระบุว่าแพ้สารตัวไหนในครีม ค่อนข้างยากมากครับ ถ้าอยากรู้จริง ๆ ต้องไปทำเทสต์ครับ แต่จากงานวิจัยหลาย ๆ ฉบับ สรุปสารที่คนมักแพ้ง่าย (คำว่าแพ้ง่ายในที่นี้คือ ประมาณ1% เองนะครับ 100 คนแพ้สัก 1 คน) ออกมาเป็น 5 กลุ่มครับ

1. กลุ่มน้ำมันหอมระเหย – โดยเฉพาะตระกูล Citrus พบการแพ้ได้บ่อยครับ

2. โลหะหนัก – นิกเกิล, ทอง

3. สี – ที่มักพบว่าแพ้ เช่น น้ำมันดิน (Coal Tar) ซึ่งแต่ก่อนใช้ในสีย้อมผมกันมาก

4. ยางธรรมชาติ (Latex)

5. สารกันเสีย – ตัวที่พบว่าแพ้ในระดับ 1% เช่น กลุ่ม Thiazolinone, กลุ่มที่ปล่อย Formaldehyde ที่ยังพบว่ามีการใช้อยู่ เช่น DMDM Hydantoin

 

การที่นักวิชาการรายงานสารที่ก่อแพ้ออกมาในลักษณะนี้ ผมมองว่ามันเป็นเหมือน “ดาบสองคม” ครับ ข้อดีคือ เราได้รับรู้ว่าสารใดควรเฝ้าระวัง แต่ข้อเสียคือ ผู้บริโภคมักเกิดความเข้าใจผิดว่า สารทั้งกลุ่มนั้นทั้งหมดก่อการแพ้ได้ง่าย เช่น สารกันบูดแพ้ง่ายทุกตัว, น้ำหอมแพ้ง่ายทุกตัว หรือสารที่ไม่ใส่สีปลอดภัยกว่า เป็นต้น ซึ่งบางทีก็ไม่จริงเสมอไปครับ


ถ้าถามความเห็นผม ผมคิดว่า การแพ้ (Allergy) ต่อสารเคมีใดสารเคมีหนึ่งในสกินแคร์พบไม่มากครับ น่าจะอยู่ในระดับ 1-2% ของความผิดปกติจากการใช้สกินแคร์เท่านั้นเองครับ

อ้าว แล้วที่ใช้แล้วหน้าเห่อแดง แสบ คัน ไม่เรียกแพ้ แล้วเรียกว่าอะไร ?

 

ส่วนใหญ่ (ผมเชื่อว่าเกิน 50%) ความผิดปกติจากการใช้สกินแคร์มาจาก “ความระคายเคือง” ครับ

 

ระคายเคือง (Irritation)

อาการที่พบเหมือนกับการแพ้ทุกประการครับ นั่นคือ “แดง บวม คัน ลอก” แต่จะมีข้อแตกต่างคือ ทาตรงไหนก็จะมีอาการแค่ตรงนั้นครับ อีกอย่างที่สังเกตุได้ชัดคือ อาการมักเกิดทันทีในระดับวินาที หรืออย่างช้าไม่เกินภายใน 5 นาทีครับ ขึ้นอยู่กับความหนาของหนังหน้า เอ้ยไม่ใช่ครับ ความแข็งแรงของ Skin Barrier ของแต่ละคนครับ

 

สาเหตุของความระคายเคือง เราแบ่งได้เป็น 2 กลไกใหญ่ ดังนี้ครับ

 

กลไกที่ 1 : สารนั้นมีค่าความเป็นกรดหรือด่างที่สูงเกินไปครับ

 

โดยสารที่เป็นกรดจะไปละลายกาว (Desmosome) ที่เชื่อมเซลล์ Corneocyte ออก ทำให้เซลล์หลุดลอกออกไปครับ ได้แก่ AHA, BHA ต่าง

 

ส่วนสารที่เป็นด่างจะไปทำลายโปรตีน (Corneoenvelope) ที่หุ้มเซลล์ Corneocyte ทำให้เซลล์แตก ในชีวิตประจำวันบางคนอาจจะเคยรู้สึกนิ้วมือลื่น ๆ เวลาสัมผัสน้ำปูนใสเข้มข้น หรือ เวลาไปแช่ออนเซ็นที่ค่าความเป็นด่างสูง ๆ ที่จริงผิวคุณกำลังโดนละลายอยู่น่ะครับ สารในกลุ่มนี้ เช่น Conditioning Agent บางชนิดที่มักพบในครีมนวดผม เป็นต้นครับ

 

กลไกที่ 2 : สารนั้นมีความสามารถในการชะล้างหรือละลายเอาไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ (Intercellular Lipid) ออกไป โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ชำระล้าง เช่น SLS และกลุ่มที่มีฤทธิ์ละลาย เช่น Isopropylmyristate(IPM), Isododecane เป็นต้นครับ

 

โดยไม่ว่าจะด้วยกลไกที่ 1 หรือ 2 ก็ตาม ผลเสียที่ได้รับคือ Skin Barrier จะถูกทำลาย ทำให้สารก่อความระคายเคืองจากภายนอก ยิ่งเข้ามาทำลายผิวได้มากขึ้น อีกทั้งผิวยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ทำให้ผิวแห้ง แสบ

 

ถ้าสัมผัสมาก หรือ เดิมที Skin Barrier ไม่แข็งแรง (หรือที่มักเรียกว่า Sensitive Skin) อยู่แล้ว ก็อาจจะเกิดการอักเสบแดง บวม คัน ลอกได้มากและรุนแรงครับ

 

***เห็นมั้ยครับ Skin Barrier สำคัญจริง ครับ นอกเรื่องนิดนึงครับ อย่างผมเองใช้หนังหน้าทำงานเยอะมากครับ ตอนทำงานเป็นนักวิจัยสกินแคร์ใหม่ ๆ ทำสูตรอะไรมาก็ลองกับหน้าตัวเองนี่แล่ะครับ วันนึงหลายสูตร ทา ล้าง เช็ด ทั้งวันครับ ตอนนั้นที่โต๊ะทำงานผมจะต้องมีครีมหรือเซรั่มที่มี Lecithin ผสมอยู่ วางไว้ตลอดครับ ไปเทสสูตรในห้องแลป พอเดินกลับมานั่งพักที่โต๊ะก็ควักโปะซ่อมหน้าตัวเองไปครับ

ความผิดปกติอีกชนิดที่พบได้บ่อย แต่อาการจะค่อนข้างต่างออกไปอย่างชัดเจน นั่นก็คือ Comedone ซึ่งเกิดจากสารนั้น มีคุณสมบติ “ทำให้” เกิดการอุดตันของรูขุมขนครับ

 

ที่ผมต้องเน้นคำว่า “ทำให้” ก็เพราะว่า สารที่มีฤทธิ์เป็น Comedogenic ไม่ได้ไปอุดตันรูขุมขนด้วยตัวของมันเอง แต่มันจะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวที่อยู่ที่ผนังด้านในของรูขุมขนแบ่งตัวเพิ่มขึ้นจนรูขุมขนแคบลงและอุดตันในที่สุด (Follicular Hyperkeratinosis)

 

และเมื่อการอุดตันเกิดขึ้น ไขมันจากต่อมไขมันก็จะออกมาไม่ได้ เกิดเป็นสิวเม็ดเล็ก เรียกว่า Comedone ซึ่งมีทั้งสีขาว (ไม่มีรูเปิด) และสีดำ (มีรูเปิด) และหากมีการอักเสบติดเชื้อร่วมด้วยก็จะพัฒนาเป็นสิวอักเสบมีหนองได้ในที่สุดครับ

 

ความผิดปกติชนิดนี้พบได้บ่อยเหมือนกันครับ(อันดับสองรองจากระคายเคือง) และมีข้อสังเกตคือ

1. อาการจะไม่เป็นทันที จะเกิดในระดับวันถึงสัปดาห์หลังจากได้รับสารนั้น ติดต่อกัน

2. ไม่จำเป็นว่าสารนั้นต้องเป็นไขมัน สารบางตัวละลายน้ำได้ แต่มีฤทธิ์เป็น Comedogenic ที่สูงก็มี

3. สารที่เป็นไขมันหนืด ๆ ที่ดูน่าจะอุดตันแน่ ๆ ที่จริงแล้วส่วนใหญ่เป็น Comedogenic ต่ำครับ เพราะมันหนืดจน ลงไปในรูขุมขนไม่ได้ เลยไปกระตุ้นการแบ่งตัวภายในรูขุมขนไม่ได้นั่นเองครับ

4. ในทางกลับกัน น้ำมันที่ความหนืดต่ำ ๆ โมเลกุลขนาดปานกลาง กลับเป็น Comedogenic ที่สูง เนื่องจากเข้าไปในรูขุมขนได้ลึกและทำให้เกิดการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้รูขุมขนตีบตัน


สารที่เป็นต้นเหตุของการเกิด Comedone แบ่งออกเป็นกลุ่ม ได้ยากครับ สารกลุ่มเดียวกันบางตัวเป็น Highly Comedogenic แต่บางตัวกลับเป็น Non-comedogenic จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเอาสารมาทดสอบเป็นตัว ครับ งานวิจัยในลิงก์ข้างล่างนี้ดังมากครับ เป็นงานวิจัยที่ถูกใช้อ้างอิงในเรื่อง Comedogenic บ่อยมากครับ คนทำวิจัย James Fulton เป็นคุณหมอผิวหนัง และยังเป็นผู้ร่วมคิดค้นสูตรยาแก้สิว RetinA , Benzac ที่ทุกวันนี้ใช้กันแพร่หลายมากครับ

สุดท้ายผมอยากบอกกับทุก คนว่า

 

” ระวังได้ แต่อย่ากลัวเกินไป”

 

สารตัวใดตัวหนึ่งอาจจะเป็น Highly Irritative & Comedogenic Ingredient แต่ไม่ได้แปลว่าการมีสารนั้นอยู่ในฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องเป็น Highly Irritative & Comedogenic Products เสมอไป มันขึ้นอยู่กับปริมาณด้วย, ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ร่วมกับสารอื่น อะไรบ้าง, ลักษณะการใช้ว่าเป็นแบบทาทิ้งไว้หรือล้างออก, ขึ้นกับสภาพผิวของคน นั้น ณ เวลานั้น ๆ และยังมีอีกมากมายหลายปัจจัยครับ

 

ส่วนตัวผมมีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์หนึ่ง ในตลาด จะมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของผิวมากหรือน้อยนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ

 

“ความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้คิดค้นสูตร + ธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการ”

 

ผมอยากให้ทุก ท่านได้โปรดเชื่อมั่นใน AMT Skincare เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเท่าเทียมกับประสิทธิภาพ เรามีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เรามีประสบการณ์ในงานด้านนี้มายาวนาน และที่สำคัญเราไม่รู้จะทำของไม่มีคุณภาพมาขายทำไม เพราะสำหรับเรา การทำของดีมีคุณภาพมันง่ายกว่ากันเยอะ

 

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีสูตรตำรับไหนบนโลกใบนี้ที่สามารถพูดได้ 100% ว่าจะไม่เกิดความผิดปกติแน่นอนครับ ถึงแม้บางแบรนด์จะพูดว่าใช้แล้วไม่แพ้, ผิวบอบบางก็ใช้ได้, ผ่านการตรวจสอบจากแพทย์ผิวหนัง, ไม่ก่อให้เกิดสิวหรือระคายเคืองก็ตาม

 

ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ หากท่านใช้แล้วเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ทันที ล้างบริเวณที่มีอาการผิดปกติด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ (กรณีอาการผิดปกติเกิดทันทีหลังใช้) และหากมีอาการมากให้รีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญครับ

Tag : ผิวระคายเคืองง่าย สิว

#AMTSkincare #AMTfamily #YourSkinGuardian #Handbook #Skincare #สกินแคร์

ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่

https://linktr.ee/AMTSkincare

The Skincare Handbook by AMT Skincare

คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์

ตอนที่ 8 “แพ้” “ระคายเคือง” “(ทำให้) อุดตัน” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

แพ้ (Allergy)

เป็นกระบวนการตอบสนองของผิวต่อสารใดสารหนึ่งที่คาดว่าจะมีอันตราย (บางทีสารนั้นไม่ได้มีอันตรายจริง ๆ หรอกครับ ผิวเราบางทีก็เข้าใจผิดไปเอง)

 

โดยสารนั้น ๆ ผิว “ต้องเคยเจอ” มาก่อนแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และพอเจออีกครั้งเป็นครั้งที่สอง ผิวก็จะตอบสนองออกมาโดยมีอาการที่สำคัญคือ “แดง บวม คัน ลอก” โดยอาการนี้อาจจะเกิดในตำแหน่งที่สัมผัสกับสารก่อแพ้ หรือ บางทีก็เกิดในตำแหน่งอื่นได้ครับ

 

ยกตัวอย่างคล้าย ๆ กับการแพ้อาหาร เช่น คนแพ้กุ้ง กินกุ้งเข้าไป บางคนก็มีอาการแดง, คันรอบบริเวณปาก บางคนก็คันทั้งตัว หรือบางคนที่มีอาการมาก อาจจะเกิดการบวมของผนังทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัดได้ เป็นต้นครับ

 

ระยะเวลาในการเกิดการแพ้ หลังจากผิวเจอสารก่อแพ้เข้าไป อาจจะเกิดทันที หรืออาจจะเกิดช้าออกไปเป็นสัปดาห์ก็ได้ครับ เช่น ทาครีมวันนี้ไปแพ้เอาอาทิตย์หน้า แบบนี้ก็มีครับ

 

สารที่เป็นต้นเหตุของการแพ้นั้น “เป็นไปได้ทุกตัว” ครับ การจะระบุว่าแพ้สารตัวไหนในครีม ค่อนข้างยากมากครับ ถ้าอยากรู้จริง ๆ ต้องไปทำเทสต์ครับ แต่จากงานวิจัยหลาย ๆ ฉบับ สรุปสารที่คนมักแพ้ง่าย (คำว่าแพ้ง่ายในที่นี้คือ ประมาณ1% เองนะครับ 100 คนแพ้สัก 1 คน) ออกมาเป็น 5 กลุ่มครับ

1. กลุ่มน้ำมันหอมระเหย – โดยเฉพาะตระกูล Citrus พบการแพ้ได้บ่อยครับ

2. โลหะหนัก – นิกเกิล, ทอง

3. สี – ที่มักพบว่าแพ้ เช่น น้ำมันดิน (Coal Tar) ซึ่งแต่ก่อนใช้ในสีย้อมผมกันมาก

4. ยางธรรมชาติ (Latex)

5. สารกันเสีย – ตัวที่พบว่าแพ้ในระดับ 1% เช่น กลุ่ม Thiazolinone, กลุ่มที่ปล่อย Formaldehyde ที่ยังพบว่ามีการใช้อยู่ เช่น DMDM Hydantoin

 

การที่นักวิชาการรายงานสารที่ก่อแพ้ออกมาในลักษณะนี้ ผมมองว่ามันเป็นเหมือน “ดาบสองคม” ครับ ข้อดีคือ เราได้รับรู้ว่าสารใดควรเฝ้าระวัง แต่ข้อเสียคือ ผู้บริโภคมักเกิดความเข้าใจผิดว่า สารทั้งกลุ่มนั้นทั้งหมดก่อการแพ้ได้ง่าย เช่น สารกันบูดแพ้ง่ายทุกตัว, น้ำหอมแพ้ง่ายทุกตัว หรือสารที่ไม่ใส่สีปลอดภัยกว่า เป็นต้น ซึ่งบางทีก็ไม่จริงเสมอไปครับ


ถ้าถามความเห็นผม ผมคิดว่า การแพ้ (Allergy) ต่อสารเคมีใดสารเคมีหนึ่งในสกินแคร์พบไม่มากครับ น่าจะอยู่ในระดับ 1-2% ของความผิดปกติจากการใช้สกินแคร์เท่านั้นเองครับ

อ้าว แล้วที่ใช้แล้วหน้าเห่อแดง แสบ คัน ไม่เรียกแพ้ แล้วเรียกว่าอะไร ?

 

ส่วนใหญ่ (ผมเชื่อว่าเกิน 50%) ความผิดปกติจากการใช้สกินแคร์มาจาก “ความระคายเคือง” ครับ

 

ระคายเคือง (Irritation)

อาการที่พบเหมือนกับการแพ้ทุกประการครับ นั่นคือ “แดง บวม คัน ลอก” แต่จะมีข้อแตกต่างคือ ทาตรงไหนก็จะมีอาการแค่ตรงนั้นครับ อีกอย่างที่สังเกตุได้ชัดคือ อาการมักเกิดทันทีในระดับวินาที หรืออย่างช้าไม่เกินภายใน 5 นาทีครับ ขึ้นอยู่กับความหนาของหนังหน้า เอ้ยไม่ใช่ครับ ความแข็งแรงของ Skin Barrier ของแต่ละคนครับ

 

สาเหตุของความระคายเคือง เราแบ่งได้เป็น 2 กลไกใหญ่ ดังนี้ครับ

 

กลไกที่ 1 : สารนั้นมีค่าความเป็นกรดหรือด่างที่สูงเกินไปครับ

 

โดยสารที่เป็นกรดจะไปละลายกาว (Desmosome) ที่เชื่อมเซลล์ Corneocyte ออก ทำให้เซลล์หลุดลอกออกไปครับ ได้แก่ AHA, BHA ต่าง

 

ส่วนสารที่เป็นด่างจะไปทำลายโปรตีน (Corneoenvelope) ที่หุ้มเซลล์ Corneocyte ทำให้เซลล์แตก ในชีวิตประจำวันบางคนอาจจะเคยรู้สึกนิ้วมือลื่น ๆ เวลาสัมผัสน้ำปูนใสเข้มข้น หรือ เวลาไปแช่ออนเซ็นที่ค่าความเป็นด่างสูง ๆ ที่จริงผิวคุณกำลังโดนละลายอยู่น่ะครับ สารในกลุ่มนี้ เช่น Conditioning Agent บางชนิดที่มักพบในครีมนวดผม เป็นต้นครับ

 

กลไกที่ 2 : สารนั้นมีความสามารถในการชะล้างหรือละลายเอาไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ (Intercellular Lipid) ออกไป โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มที่มีฤทธิ์ชำระล้าง เช่น SLS และกลุ่มที่มีฤทธิ์ละลาย เช่น Isopropylmyristate(IPM), Isododecane เป็นต้นครับ

 

โดยไม่ว่าจะด้วยกลไกที่ 1 หรือ 2 ก็ตาม ผลเสียที่ได้รับคือ Skin Barrier จะถูกทำลาย ทำให้สารก่อความระคายเคืองจากภายนอก ยิ่งเข้ามาทำลายผิวได้มากขึ้น อีกทั้งผิวยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ทำให้ผิวแห้ง แสบ

 

ถ้าสัมผัสมาก หรือ เดิมที Skin Barrier ไม่แข็งแรง (หรือที่มักเรียกว่า Sensitive Skin) อยู่แล้ว ก็อาจจะเกิดการอักเสบแดง บวม คัน ลอกได้มากและรุนแรงครับ

 

***เห็นมั้ยครับ Skin Barrier สำคัญจริง ครับ นอกเรื่องนิดนึงครับ อย่างผมเองใช้หนังหน้าทำงานเยอะมากครับ ตอนทำงานเป็นนักวิจัยสกินแคร์ใหม่ ๆ ทำสูตรอะไรมาก็ลองกับหน้าตัวเองนี่แล่ะครับ วันนึงหลายสูตร ทา ล้าง เช็ด ทั้งวันครับ ตอนนั้นที่โต๊ะทำงานผมจะต้องมีครีมหรือเซรั่มที่มี Lecithin ผสมอยู่ วางไว้ตลอดครับ ไปเทสสูตรในห้องแลป พอเดินกลับมานั่งพักที่โต๊ะก็ควักโปะซ่อมหน้าตัวเองไปครับ

ความผิดปกติอีกชนิดที่พบได้บ่อย แต่อาการจะค่อนข้างต่างออกไปอย่างชัดเจน นั่นก็คือ Comedone ซึ่งเกิดจากสารนั้น มีคุณสมบติ “ทำให้” เกิดการอุดตันของรูขุมขนครับ

 

ที่ผมต้องเน้นคำว่า “ทำให้” ก็เพราะว่า สารที่มีฤทธิ์เป็น Comedogenic ไม่ได้ไปอุดตันรูขุมขนด้วยตัวของมันเอง แต่มันจะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวที่อยู่ที่ผนังด้านในของรูขุมขนแบ่งตัวเพิ่มขึ้นจนรูขุมขนแคบลงและอุดตันในที่สุด (Follicular Hyperkeratinosis)

 

และเมื่อการอุดตันเกิดขึ้น ไขมันจากต่อมไขมันก็จะออกมาไม่ได้ เกิดเป็นสิวเม็ดเล็ก เรียกว่า Comedone ซึ่งมีทั้งสีขาว (ไม่มีรูเปิด) และสีดำ (มีรูเปิด) และหากมีการอักเสบติดเชื้อร่วมด้วยก็จะพัฒนาเป็นสิวอักเสบมีหนองได้ในที่สุดครับ

 

ความผิดปกติชนิดนี้พบได้บ่อยเหมือนกันครับ(อันดับสองรองจากระคายเคือง) และมีข้อสังเกตคือ

1. อาการจะไม่เป็นทันที จะเกิดในระดับวันถึงสัปดาห์หลังจากได้รับสารนั้น ติดต่อกัน

2. ไม่จำเป็นว่าสารนั้นต้องเป็นไขมัน สารบางตัวละลายน้ำได้ แต่มีฤทธิ์เป็น Comedogenic ที่สูงก็มี

3. สารที่เป็นไขมันหนืด ๆ ที่ดูน่าจะอุดตันแน่ ๆ ที่จริงแล้วส่วนใหญ่เป็น Comedogenic ต่ำครับ เพราะมันหนืดจน ลงไปในรูขุมขนไม่ได้ เลยไปกระตุ้นการแบ่งตัวภายในรูขุมขนไม่ได้นั่นเองครับ

4. ในทางกลับกัน น้ำมันที่ความหนืดต่ำ ๆ โมเลกุลขนาดปานกลาง กลับเป็น Comedogenic ที่สูง เนื่องจากเข้าไปในรูขุมขนได้ลึกและทำให้เกิดการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้รูขุมขนตีบตัน


สารที่เป็นต้นเหตุของการเกิด Comedone แบ่งออกเป็นกลุ่ม ได้ยากครับ สารกลุ่มเดียวกันบางตัวเป็น Highly Comedogenic แต่บางตัวกลับเป็น Non-comedogenic จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเอาสารมาทดสอบเป็นตัว ครับ งานวิจัยในลิงก์ข้างล่างนี้ดังมากครับ เป็นงานวิจัยที่ถูกใช้อ้างอิงในเรื่อง Comedogenic บ่อยมากครับ คนทำวิจัย James Fulton เป็นคุณหมอผิวหนัง และยังเป็นผู้ร่วมคิดค้นสูตรยาแก้สิว RetinA , Benzac ที่ทุกวันนี้ใช้กันแพร่หลายมากครับ

สุดท้ายผมอยากบอกกับทุก คนว่า

 

” ระวังได้ แต่อย่ากลัวเกินไป”

 

สารตัวใดตัวหนึ่งอาจจะเป็น Highly Irritative & Comedogenic Ingredient แต่ไม่ได้แปลว่าการมีสารนั้นอยู่ในฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องเป็น Highly Irritative & Comedogenic Products เสมอไป มันขึ้นอยู่กับปริมาณด้วย, ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ร่วมกับสารอื่น อะไรบ้าง, ลักษณะการใช้ว่าเป็นแบบทาทิ้งไว้หรือล้างออก, ขึ้นกับสภาพผิวของคน นั้น ณ เวลานั้น ๆ และยังมีอีกมากมายหลายปัจจัยครับ

 

ส่วนตัวผมมีความเห็นว่าผลิตภัณฑ์หนึ่ง ในตลาด จะมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของผิวมากหรือน้อยนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ

 

“ความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้คิดค้นสูตร + ธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการ”

 

ผมอยากให้ทุก ท่านได้โปรดเชื่อมั่นใน AMT Skincare เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเท่าเทียมกับประสิทธิภาพ เรามีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เรามีประสบการณ์ในงานด้านนี้มายาวนาน และที่สำคัญเราไม่รู้จะทำของไม่มีคุณภาพมาขายทำไม เพราะสำหรับเรา การทำของดีมีคุณภาพมันง่ายกว่ากันเยอะ

 

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีสูตรตำรับไหนบนโลกใบนี้ที่สามารถพูดได้ 100% ว่าจะไม่เกิดความผิดปกติแน่นอนครับ ถึงแม้บางแบรนด์จะพูดว่าใช้แล้วไม่แพ้, ผิวบอบบางก็ใช้ได้, ผ่านการตรวจสอบจากแพทย์ผิวหนัง, ไม่ก่อให้เกิดสิวหรือระคายเคืองก็ตาม

 

ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ หากท่านใช้แล้วเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดใช้ทันที ล้างบริเวณที่มีอาการผิดปกติด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ (กรณีอาการผิดปกติเกิดทันทีหลังใช้) และหากมีอาการมากให้รีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญครับ

Tag : ผิวระคายเคืองง่าย สิว

#AMTSkincare #AMTfamily #YourSkinGuardian #Handbook #Skincare #สกินแคร์

ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่

https://linktr.ee/AMTSkincare

บทความอื่นๆ