
The Skincare Handbook by AMT Skincare
คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์
ตอนที่ 6 ผิวของคุณต้องการน้ำมันแบบไหน ?
(บทความครึ่งแรก : ก่อนอื่นคุณควรรู้ก่อนว่าผิวของคุณจริง ๆ แล้วเป็นแบบไหน ?)

มันจะดีแค่ไหนครับ… ถ้าผิวของคุณพูดได้ว่าตอนนี้เค้าต้องการอะไร…
ผิวของคนเราก็เหมือนต้นไม้ครับ พูดไม่ได้ว่าต้องการอะไร แต่แสดงให้เรารู้ได้ ถ้าเราสังเกตเค้าดี ๆ อย่างต้นไม้เค้าจะบอกเราทางใบ เช่น ใบสีเหลือง ๆ แสดงว่าขาดไนโตรเจน ส่วนใบสีน้ำตาล ๆ แสดงว่าอาจจะขาดฟอสฟอรัสครับ
ผิวเราเปลี่ยนสีเหมือนใบไม้เพื่อบอกเราไม่ได้ครับว่าตอนนี้เค้าต้องการอะไร สิ่งที่เราจะสังเกตได้จากผิวเราหลัก ๆ แล้วมี 4 อย่างดังนี้ครับ
1. ลายผิว (Texture) – เป็นตัวบอกปริมาณน้ำในผิว โดยผิวที่มีน้ำเพียงพอ ลายผิวจะเป็นรูปดาว (Asterisk) ส่วนผิวที่ขาดน้ำ ลายผิวจะเป็นทาง ๆ (Fine Line) ครับ
2. ความมันวาว (Glossiness) – อันนี้ตรงไปตรงมา คือเป็นตัวบอกปริมาณน้ำมันที่ผิวว่ามีมากน้อยแค่ไหน แต่มีข้อควรระวังคือ ความมันที่เรามองเห็นได้นี้คือ ความมันวาวแค่ที่ผิว (Surface Glossiness) เท่านั้น ผิวอาจจะมันแค่ภายนอก (Glossy) อย่างเดียว หรือมันภายในด้วย (Oily) ก็เป็นได้ครับ
3. ความคัน (Pruritus) – บ่งบอกถึงปลายประสาทรับสัมผัสในผิวได้รับการกระตุ้นจาก การสัมผัส อุณหภูมิ หรือสารอะไรซักอย่าง อันนี้มักสื่อถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของ Skin Barrier ครับ โดย Skin Barrier ที่อ่อนแอ ผิวมักจะแสบคันได้ง่ายครับ
4. ความแดง (Erythema) – คืออาการหนึ่งของการอักเสบ หรือ Dermatitis ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสารก่อแพ้ (Allergic Dermatitis) หรือ สารที่มีฤทธิ์ระคายเคือง (Irritative Dermatitis) อันนี้เช่นกันครับคือสื่อถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของ Skin Barrier ครับ
จาก 4 ข้อตรงนี้เราจะแบ่งผิว “ภายนอก” ออกได้เป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ

*ผมขออธิบายตรงนี้นิดนึงครับว่า วิธีการจะสรุปว่าเป็นผิวแบบไหนนั้นมีหลายวิธีมากครับ แต่ที่ผมเขียนไว้ตรงนี้ ผมคิดว่ามันเป็นวิธีที่เป็นรูปธรรมดีครับ
1. ผิวภายนอกแห้ง – คุณจะเห็นลายผิวเป็นรูปดาวห่าง ๆ หรือเป็นทาง ๆ ความวาวที่ผิวน้อย มักมีอาการคัน แดง ร่วมด้วย
2. ผิวภายนอกมัน – ลายผิวเป็นอะไรก็ได้ ความวาวที่ผิวมากสะท้อนโคมไฟได้เป็นดวงชัด ๆ อาจมีแดงได้ แต่ไม่ค่อยคัน
3. ผิวภายนอกปกติ – ลายผิวเป็นรูปดาวอาจจะถี่ ๆ หรือห่าง ๆ ก็ได้ ความวาวที่ผิวปานกลางสะท้อนโคมไฟได้ แต่ภาพจะเบลอ ๆ มีแดงและคันได้บ้าง แต่จะไม่เยอะจนเจ้าของผิวรู้สึกผิดปกติ

ทีนี้ผมอยากให้สังเกตผิวของตัวเองละเอียดไปอีกซักนิดนึงครับ นั่นคือสภาพผิว “ภายใน” โดยส่วนของผิวภายในนั้น เราก็สามารถแบ่งได้เป็น แห้ง, มัน, ธรรมดา ได้เช่นกันครับ โดยวิธีสังเกตจะเหมือนกับผิวภายนอก แต่ให้สังเกตตอน “หลังล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง หลังจากนั้นไม่ต้องทาสกินแคร์ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที” เราจะแบ่งผิว “ภายใน” ออกได้เป็น
1. ผิวภายในแห้ง
2. ผิวภายในมัน
3. ผิวภายในปกติ
ยกตัวอย่างเช่น สมมติในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว เราน่าจะเป็นผิวภายนอกแห้ง และหลังล้างหน้าสภาพผิวก็มีลายทางผิวเป็นเส้น ๆ ความวาวน้อย มีคัน ๆ แดง ๆ แบบนี้ก็สามารถสรุปได้ว่าน่าจะเป็นคนผิวแห้งทั้งภายนอกและภายใน
หรืออีกตัวอย่างนึง เช่น ในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว ผิวมีความวาวสูง เราน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่พอหลังล้างหน้า สังเกตเห็นลายผิวเป็นทาง ๆ คัน และแดงมาก แบบนี้ก็สามารถสรุปได้ว่าน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่ภายในแห้ง (Inner Dry Skin) เป็นต้นครับ
ลองอีกซักตัวอย่างนึงเพื่อความเข้าใจ เช่น ในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว ผิวมีความวาวสูง เราน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่พอหลังล้างหน้า ผ่านไปแค่ 5 นาที ผิวมันวาวสะท้อนหลอดไฟได้อีกแล้ว ลายผิวก็เป็นรูปดาวถี่ ๆ เกิดมาไม่ค่อยเคยคันหน้า แบบนี้ก็อาจสรุปได้ว่าน่าจะเป็นผิวมันทั้งภายนอกและภายในนั่นเองครับ

นอกจากนี้เรายังแบ่งผิวออกเป็นบริเวณต่าง ๆ ได้คร่าว ๆ เป็น 2 บริเวณตามที่หลาย ๆ ท่านทราบกันอยู่แล้วคือ T และ U
1. T Zone – หน้าผาก สันจมูก ปีกจมูก และคาง
2. U Zone – รอบดวงตา โหนกแก้ม รอบปาก และแนวขากรรไกร
ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ลักษณะผิวของเราโดยแบ่งตามบริเวณร่วมด้วย เวลามีใครมาถามเราว่าผิวเป็นแบบไหน ? ตอบเค้าไปเลยครับว่า…
“T Zone มันนอก มันใน
U Zone มันนอก แห้งใน”
หรือ
“แห้ง All Area ทั้งภายนอกและภายใน”
สุดท้ายนี้ ผมอยากบอกว่าการสังเกตและวิเคราะห์สภาพผิวของตัวเองนั้น ใครก็ช่วยเราไม่ได้ครับ เครื่องมือจำพวกวัดปริมาณน้ำและไขมันในผิว และสรุปออกมาเป็นค่าต่าง ๆ นั้น การวัดมีความคลาดเคลื่อนมาก เดินอยู่ตามห้างสรรพสินค้า หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยวัดมาบ้าง บางทีก็วัดทั้ง ๆ เมคอัพ บางทีล้างเมคอัพออกแล้ววัด แต่วัดในห้องแอร์ส่วนใหญ่ก็ออกมาผิวแห้งกันทั้งนั้น แล้วพนักงานขายก็อาจจะลงสกินแคร์ให้อย่างเต็ม แล้วก็วัดอีก “ดูสิคะ ผิวชุ่มชื้นทันตาเลยค่ะ” เอิ่มมม เอาน้ำเปล่าลงแล้ววัดเผลอ ๆ ตัวเลขก็ขึ้นเหมือนกันครับ
เพราะว่าเราอยู่กับผิวของเราเองมากที่สุด เราจะเป็นคนให้คำตอบได้ดีที่สุดครับ เราเห็นผิวเราในหลาย ๆ สภาพ ทั้งห้องแอร์ กลางแจ้ง ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ช่วงใกล้มีประจำเดือน หลังมีบุตร ผิวเราเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ครับ เราควรจะสังเกตผิวของเรา และเข้าใจสภาพผิวของเราให้ได้อย่างละเอียด สิ่งนี้จะช่วยทำให้เราเลือกใช้สกินแคร์ที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้ครับ
Tag : ปัญหาผิวแห้ง ปัญหาผิวมัน
#AMTSkincare #AMTfamily #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่

The Skincare Handbook by AMT Skincare
คอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับผิว และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสกินแคร์
ตอนที่ 6 ผิวของคุณต้องการน้ำมันแบบไหน ?
(บทความครึ่งแรก : ก่อนอื่นคุณควรรู้ก่อนว่าผิวของคุณจริง ๆ แล้วเป็นแบบไหน ?)

มันจะดีแค่ไหนครับ… ถ้าผิวของคุณพูดได้ว่าตอนนี้เค้าต้องการอะไร…
ผิวของคนเราก็เหมือนต้นไม้ครับ พูดไม่ได้ว่าต้องการอะไร แต่แสดงให้เรารู้ได้ ถ้าเราสังเกตเค้าดี ๆ อย่างต้นไม้เค้าจะบอกเราทางใบ เช่น ใบสีเหลือง ๆ แสดงว่าขาดไนโตรเจน ส่วนใบสีน้ำตาล ๆ แสดงว่าอาจจะขาดฟอสฟอรัสครับ
ผิวเราเปลี่ยนสีเหมือนใบไม้เพื่อบอกเราไม่ได้ครับว่าตอนนี้เค้าต้องการอะไร สิ่งที่เราจะสังเกตได้จากผิวเราหลัก ๆ แล้วมี 4 อย่างดังนี้ครับ
1. ลายผิว (Texture) – เป็นตัวบอกปริมาณน้ำในผิว โดยผิวที่มีน้ำเพียงพอ ลายผิวจะเป็นรูปดาว (Asterisk) ส่วนผิวที่ขาดน้ำ ลายผิวจะเป็นทาง ๆ (Fine Line) ครับ
2. ความมันวาว (Glossiness) – อันนี้ตรงไปตรงมา คือเป็นตัวบอกปริมาณน้ำมันที่ผิวว่ามีมากน้อยแค่ไหน แต่มีข้อควรระวังคือ ความมันที่เรามองเห็นได้นี้คือ ความมันวาวแค่ที่ผิว (Surface Glossiness) เท่านั้น ผิวอาจจะมันแค่ภายนอก (Glossy) อย่างเดียว หรือมันภายในด้วย (Oily) ก็เป็นได้ครับ
3. ความคัน (Pruritus) – บ่งบอกถึงปลายประสาทรับสัมผัสในผิวได้รับการกระตุ้นจาก การสัมผัส อุณหภูมิ หรือสารอะไรซักอย่าง อันนี้มักสื่อถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของ Skin Barrier ครับ โดย Skin Barrier ที่อ่อนแอ ผิวมักจะแสบคันได้ง่ายครับ
4. ความแดง (Erythema) – คืออาการหนึ่งของการอักเสบ หรือ Dermatitis ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสารก่อแพ้ (Allergic Dermatitis) หรือ สารที่มีฤทธิ์ระคายเคือง (Irritative Dermatitis) อันนี้เช่นกันครับคือสื่อถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของ Skin Barrier ครับ
จาก 4 ข้อตรงนี้เราจะแบ่งผิว “ภายนอก” ออกได้เป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ

*ผมขออธิบายตรงนี้นิดนึงครับว่า วิธีการจะสรุปว่าเป็นผิวแบบไหนนั้นมีหลายวิธีมากครับ แต่ที่ผมเขียนไว้ตรงนี้ ผมคิดว่ามันเป็นวิธีที่เป็นรูปธรรมดีครับ
1. ผิวภายนอกแห้ง – คุณจะเห็นลายผิวเป็นรูปดาวห่าง ๆ หรือเป็นทาง ๆ ความวาวที่ผิวน้อย มักมีอาการคัน แดง ร่วมด้วย
2. ผิวภายนอกมัน – ลายผิวเป็นอะไรก็ได้ ความวาวที่ผิวมากสะท้อนโคมไฟได้เป็นดวงชัด ๆ อาจมีแดงได้ แต่ไม่ค่อยคัน
3. ผิวภายนอกปกติ – ลายผิวเป็นรูปดาวอาจจะถี่ ๆ หรือห่าง ๆ ก็ได้ ความวาวที่ผิวปานกลางสะท้อนโคมไฟได้ แต่ภาพจะเบลอ ๆ มีแดงและคันได้บ้าง แต่จะไม่เยอะจนเจ้าของผิวรู้สึกผิดปกติ

ทีนี้ผมอยากให้สังเกตผิวของตัวเองละเอียดไปอีกซักนิดนึงครับ นั่นคือสภาพผิว “ภายใน” โดยส่วนของผิวภายในนั้น เราก็สามารถแบ่งได้เป็น แห้ง, มัน, ธรรมดา ได้เช่นกันครับ โดยวิธีสังเกตจะเหมือนกับผิวภายนอก แต่ให้สังเกตตอน “หลังล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง หลังจากนั้นไม่ต้องทาสกินแคร์ แล้วทิ้งไว้ 10 นาที” เราจะแบ่งผิว “ภายใน” ออกได้เป็น
1. ผิวภายในแห้ง
2. ผิวภายในมัน
3. ผิวภายในปกติ
ยกตัวอย่างเช่น สมมติในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว เราน่าจะเป็นผิวภายนอกแห้ง และหลังล้างหน้าสภาพผิวก็มีลายทางผิวเป็นเส้น ๆ ความวาวน้อย มีคัน ๆ แดง ๆ แบบนี้ก็สามารถสรุปได้ว่าน่าจะเป็นคนผิวแห้งทั้งภายนอกและภายใน
หรืออีกตัวอย่างนึง เช่น ในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว ผิวมีความวาวสูง เราน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่พอหลังล้างหน้า สังเกตเห็นลายผิวเป็นทาง ๆ คัน และแดงมาก แบบนี้ก็สามารถสรุปได้ว่าน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่ภายในแห้ง (Inner Dry Skin) เป็นต้นครับ
ลองอีกซักตัวอย่างนึงเพื่อความเข้าใจ เช่น ในเวลาปกติสังเกตดูแล้ว ผิวมีความวาวสูง เราน่าจะเป็นผิวภายนอกมัน แต่พอหลังล้างหน้า ผ่านไปแค่ 5 นาที ผิวมันวาวสะท้อนหลอดไฟได้อีกแล้ว ลายผิวก็เป็นรูปดาวถี่ ๆ เกิดมาไม่ค่อยเคยคันหน้า แบบนี้ก็อาจสรุปได้ว่าน่าจะเป็นผิวมันทั้งภายนอกและภายในนั่นเองครับ

นอกจากนี้เรายังแบ่งผิวออกเป็นบริเวณต่าง ๆ ได้คร่าว ๆ เป็น 2 บริเวณตามที่หลาย ๆ ท่านทราบกันอยู่แล้วคือ T และ U
1. T Zone – หน้าผาก สันจมูก ปีกจมูก และคาง
2. U Zone – รอบดวงตา โหนกแก้ม รอบปาก และแนวขากรรไกร
ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ลักษณะผิวของเราโดยแบ่งตามบริเวณร่วมด้วย เวลามีใครมาถามเราว่าผิวเป็นแบบไหน ? ตอบเค้าไปเลยครับว่า…
“T Zone มันนอก มันใน
U Zone มันนอก แห้งใน”
หรือ
“แห้ง All Area ทั้งภายนอกและภายใน”
สุดท้ายนี้ ผมอยากบอกว่าการสังเกตและวิเคราะห์สภาพผิวของตัวเองนั้น ใครก็ช่วยเราไม่ได้ครับ เครื่องมือจำพวกวัดปริมาณน้ำและไขมันในผิว และสรุปออกมาเป็นค่าต่าง ๆ นั้น การวัดมีความคลาดเคลื่อนมาก เดินอยู่ตามห้างสรรพสินค้า หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยวัดมาบ้าง บางทีก็วัดทั้ง ๆ เมคอัพ บางทีล้างเมคอัพออกแล้ววัด แต่วัดในห้องแอร์ส่วนใหญ่ก็ออกมาผิวแห้งกันทั้งนั้น แล้วพนักงานขายก็อาจจะลงสกินแคร์ให้อย่างเต็ม แล้วก็วัดอีก “ดูสิคะ ผิวชุ่มชื้นทันตาเลยค่ะ” เอิ่มมม เอาน้ำเปล่าลงแล้ววัดเผลอ ๆ ตัวเลขก็ขึ้นเหมือนกันครับ
เพราะว่าเราอยู่กับผิวของเราเองมากที่สุด เราจะเป็นคนให้คำตอบได้ดีที่สุดครับ เราเห็นผิวเราในหลาย ๆ สภาพ ทั้งห้องแอร์ กลางแจ้ง ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ช่วงใกล้มีประจำเดือน หลังมีบุตร ผิวเราเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ครับ เราควรจะสังเกตผิวของเรา และเข้าใจสภาพผิวของเราให้ได้อย่างละเอียด สิ่งนี้จะช่วยทำให้เราเลือกใช้สกินแคร์ที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้ครับ
Tag : ปัญหาผิวแห้ง ปัญหาผิวมัน
#AMTSkincare #AMTfamily #Skincare #สกินแคร์
ติดตามและเป็นกำลังใจให้กับพวกเราได้ที่